ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
คนชายเล แฟนคลับ


เข้าร่วมเมื่อ: 13/08/2009 ตอบ: 388
|
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
วิธีคิด ผู้ชำนาญการ


เข้าร่วมเมื่อ: 10/05/2008 ตอบ: 1565
|
ตอบ: 22/12/2012 8:15 am ชื่อกระทู้: กฎกระทรวง ฉบับที่๒ พงส.ฝ่ายปกครอง |
|
|
...ขอบคุณครับ...
 |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
jip สมาชิกใหม่

เข้าร่วมเมื่อ: 06/10/2012 ตอบ: 40
|
ตอบ: 22/12/2012 2:23 pm ชื่อกระทู้: กฎกระทรวง ฉบับที่๒ พงส.ฝ่ายปกครอง |
|
|
ว่าแล้วไม่มืผิด สุดท้ายก็ไม่พ้นตำรวจ ถ้าไม่พร้อมจะทำ ไม่รู้จะเอาไปทำ zak อะไร ตำรวจภาระมันหนักไม่พอหรือไงไม่ทราบ นายเรารึ ก็ได้แต่แบะๆๆๆ หน้าบานกุมเป้า แต่ไม่มีความเห็น เหนื่อยใจจริงๆ กับคนทำไม่ได้คิด คนคิดไม่ได้ทำ |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
พงส.โคกจาน แฟนคลับ


เข้าร่วมเมื่อ: 16/05/2012 ตอบ: 209
|
ตอบ: 22/12/2012 4:59 pm ชื่อกระทู้: กฎกระทรวง ฉบับที่๒ พงส.ฝ่ายปกครอง |
|
|
ขอบคุณครับ |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
พงส.แปดริ้ว-๒๐๐๘ ผู้ชำนาญการ


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2010 ตอบ: 1024
|
ตอบ: 22/12/2012 5:33 pm ชื่อกระทู้: กฎกระทรวง ฉบับที่๒ พงส.ฝ่ายปกครอง |
|
|
"ให้พนักงานสอบสวนฝ่ายปกครองสอบสวนได้" ....
แสดงว่า ...ไม่สอบสวนก็ได้ ...ส่งให้...ตำรวจสอบสวน....
ทุกกฎหมายยังไม่ตัดสิทธิ์ตำรวจอยู่ดี ... เพียงแต่ให้ฝ่ายปกครองสอบสวนได้...
คดีปืน...คดีสถานบริการ ...เอากลับมาแล้ว
เดี๋ยวอีกขั้วหากกลับมาเป็นรัฐบาล...(แต่ไม่รู้อีกนานเท่าไหร่) ...ก็จะกลับมาแก้กฎกระทรวงนี้อีกไม่เชื่อคอยดู...
 |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
นิติธรรม สมาชิกใหม่

เข้าร่วมเมื่อ: 03/11/2009 ตอบ: 79
|
ตอบ: 24/12/2012 2:00 pm ชื่อกระทู้: กฎกระทรวง ฉบับที่๒ พงส.ฝ่ายปกครอง |
|
|
มาดูเบื้องหลักการถ่ายทำของกฎกระทรวงฯ ฉ.๒ กัน ตามลิ้งนี้
http://www.ubondopa.com/db/05-04-20128867.pdf
สรุป.๑ กองคดีอาญา สตช. ชง ให้เหลิม ทำหนังสือถึง มท.ขอให้ ชลอ แก้ไข หรือยกเลิก
๒ กตร.สภาฯ เดินเกมส์ ขอตัด งป. สร้างที่ควบคุมของ พงส.ฝ่ายปกครอง
๓.ใช้เป็นข้ออ้าง ว่า ปค.ยังไม่พร้อมเพราะยังไม่มีห้องขัง ซึ่งอ้างขึ้นซะด้วย
๔.ผลออกมาเป็น กฏกระทรวงฯ ฉ.๒
๖.เรื่องของเรื่องมันมีอยู่ว่า กม.๓ ฉบับ ที่ตัดไปนั้น มันไม่ได้เป็น "อาญา" แต่เป็น "กฎหมายพานิชย์" 555
ข้อดีของ พงส.ตร.
(กำลังหาอยู่)
ข้อเสียของพงส.ตร.
๑.ต้องมีภาระคดีมากขึ้น ค่าสำนวนฟ้องใบแดงก็ไม่ได้
๒.การควบคุมตัว ผตห.กรณี พงส.ปค.สอบอีก ๑๖ ฉบับที่เหลือ กรณีปค.ไม่มีห้องขังต้องฝากการควบคุมไว้กับ ตร. ผลตกอยู่ที่ สิบเวร และ ร้อยเวร ๒๐ ต้องรับผิดชอบ(เอากระดูกแขวนคอ)
 |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
บุคคลทั่วไป

|
ตอบ: 13/04/2014 9:30 pm ชื่อกระทู้: Re: กฎกระทรวง ฉบับที่๒ พงส.ฝ่ายปกครอง |
|
|
นิติธรรม บันทึก: | มาดูเบื้องหลักการถ่ายทำของกฎกระทรวงฯ ฉ.๒ กัน ตามลิ้งนี้
http://www.ubondopa.com/db/05-04-20128867.pdf
สรุป.๑ กองคดีอาญา สตช. ชง ให้เหลิม ทำหนังสือถึง มท.ขอให้ ชลอ แก้ไข หรือยกเลิก
๒ กตร.สภาฯ เดินเกมส์ ขอตัด งป. สร้างที่ควบคุมของ พงส.ฝ่ายปกครอง
๓.ใช้เป็นข้ออ้าง ว่า ปค.ยังไม่พร้อมเพราะยังไม่มีห้องขัง ซึ่งอ้างขึ้นซะด้วย
๔.ผลออกมาเป็น กฏกระทรวงฯ ฉ.๒
๖.เรื่องของเรื่องมันมีอยู่ว่า กม.๓ ฉบับ ที่ตัดไปนั้น มันไม่ได้เป็น "อาญา" แต่เป็น "กฎหมายพานิชย์" 555
ข้อดีของ พงส.ตร.
(กำลังหาอยู่)
ข้อเสียของพงส.ตร.
๑.ต้องมีภาระคดีมากขึ้น ค่าสำนวนฟ้องใบแดงก็ไม่ได้
๒.การควบคุมตัว ผตห.กรณี พงส.ปค.สอบอีก ๑๖ ฉบับที่เหลือ กรณีปค.ไม่มีห้องขังต้องฝากการควบคุมไว้กับ ตร. ผลตกอยู่ที่ สิบเวร และ ร้อยเวร ๒๐ ต้องรับผิดชอบ(เอากระดูกแขวนคอ)
 |
ข้อดีนะครับ ท่านนิติธรรม สรุป ประชาชนผู้มีส่วนได้เสียในคดีได้รับการสอบสวนอย่างถูกต้องตามสิทธิแห่ง รัฐธรรมนูญ
มาตรา 40(4) ที่ชอบด้วยด้วยชื่อของท่านนั่นแหละ คือชอบด้วยหลัก นิติธรรม
แต่เดิมตามกฎฉบับ 1 คดีปืน การพนัน สถานบริการ อำเภอมีอำนาจสอบสวนและนายอำเภอเป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวนตามกฎ ฉ 1 ข้อ 4 แสดงว่าเจตนรมย์ของกฎหมายไม่ต้องการให้ นายอำเภอเป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวนต่อไปแล้ว
มีประเด็นว่า นายอำเภอสามารถอ้างข้อบังคับ 23 ข้อ 12.5 เข้ามาควบคุมคดีสามประเภทนี้ได้อีกหรือไม่ ?
เห็นว่า เมื่อกฎ ฉบับสองให้ฝ่ายตำรวจมีอำนาจสอบสวนคดีปืน การพนัน สถานบริการ แล้ว ตัดอำนาจพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบของนายอำเภอไปแล้ว จึงอยู่ในบังคับแห่งปวิอ 16 ที่การใช้อำนาจสอบสวนของนายอำเภอผู้รับผิดชอบคดี ต้องทำตามกฎฉบับที่สอง ที่ให้นายอำเภอเป็นหัวหน้ารับผิดชอบได้เพียง 16 พรบเท่านั้น
การใช้อำนาจควบคุมการสอบสวนเพื่อเป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในคดีทั้งสามประเภทนี้อีกทั้งที่ถูกตัดออกไปแล้ว จึงเป็นการใช้อำนาจตามขบค ที่ขัดแย้งกับอำนาจหน้าที่แห่งกฎกระทรวงที่มีลำดับศักดิ์สูงกว่า
เนื้อหาข้อ 12.4 ของขบค 23 นี้ ที่ให้นายอำเภอเป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวน จึงขัดหรือแย้งกับ ข้อ 4 แห่งกฎกระทรวง ฉ 1 เป็นผลให้ ยกเลิกไปตาม ความเห็น กฤษฎีกา 66/2553 โดยหลักกฎหมายใหม่ยกเลิกกฎหมายเก่า
ดังนั้นฝ่ายปกครองจึงมีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบเป็น หน พนักงานสอบสวนได้เพียง 16 คดีตามกฎกระทรวง คดีนอกกฎกระทรวงเป็นความรับผิดชอบของฝ่ายตำรวจที่จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบสอบสวนสั่งคดีในฐานะ หน พนักงานสอบสวน
นอกจากนี้แล้ว การเป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวนของฝ่ายตำรวจเป็นได้เพราะมีหน้าที่สอบสวน ปฎิบัติการตามปวิอ ตามนัยมาตรา 6(2) แห่ง พรบ ตำรวจ ประกอบ อำนาจสอบสวนตาม ปวิอ มาตรา 18 และชอบด้วยการใช้อำนาจหน้าที่ตาม ปวิอ 16 จึงไม่อาจอ้างอำนาจตามข้อบังคับ 23 ซึ่งเป็นข้อบังคับภายใน มิใช่กฎหมาย ลำดับศักดิ์ต่ำกว่า มาตัดอำนาจการเป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวนตามกฎหมายของฝ่ายตำรวจได้อีกต่อไป
คดี 16 ประเภท ตามกฎกระทรวง จึงเป็นคดีในความรับผิดชอบของฝ่ายปกครอง ฝ่ายตำรวจก็ไม่สามารถเป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวนในคดีเหล่านี้ได้อีกต่อไปเช่นกัน หากฝ่ายตำรวจรับร้องทุกข์ไว้ก็ต้องส่งสำนวนให้ นายอำเภอ รับผิดชอบ
กฎ 16 พรบ เป็นกฎที่ นายกรัฐมนตรี ผู้รับผิดชอบงานสอบสวนของตำรวจ กับ รมว มท ผู้รับผิดชอบงานสอบสวนของฝ่ายปกครอง ได้ตกลงร่วมกันลงนามประกาศใข้ แบ่งประเภทคดี 16 คดีให้ฝ่ายปกครองรับผิดชอบสอบสวน คดีอื่นให้ฝ่ายตำรวจสอบสวนรับผิดชอบ โดยอาศัยหลักการตาม พรบ ให้ใช้ ปวิอ มาตรา 5 วางระเบียบให้ฝ่ายของตนปฎิบัติงานด้วยความเรียบร้อย ในอำนาจของแต่ละฝ่ายโดยไม่ก้าวล่วงซึ่งกันและกัน
จึงนับว่า อำนาจสอบสวนของฝ่ายปกครอง กับ ฝ่ายตำรวจ ตาม ปวิ อ 18 ที่ทับซ้อนกันอยู่ในเขตพื้นที่เดียวกันมาตั้งแต่ พศ 2477 ได้ถูกจัดระเบียบในยุคนี้เสียใหม่ โดยวางหลักการแบ่งแยกประเภทคดีให้แต่ละฝ่ายรับผิดชอบแยกกันไปโดยไม่ทับซ้อนกัน และประชาชนก็รับทราบการใช้อำนาจของฝ่ายปกครองและตำรวจที่ประกาศใช้กฎ ลงในราชกิจจานุเบกษา
หากมีการใช้อำนาจหน้าที่ควบคุมการสอบสวนโดยฝ่ายปกครองที่มีต่อฝ่ายตำรวจตาม ขบค 23 ข้อ 12.4 -12.7 ขึ้นอีก ประชาชนในคดีย่อมได้รับความเสียหาย จากเหตุสอบสวนไม่ชอบ อัยการไม่มีอำนาจฟ้อง ย่อมโต้แย้งการใช้อำนาจควบคุมที่มิชอบนี้ได้ตั้งแต่ชั้นสอบสวนที่สถานีตำรวจ
อย่างไรก็ตาม ตร ได้มีคำสั่ง 419/2556. วางแนวทางแก้ไขปัญหาไว้แล้ว หากยังมีการใช้อำนาจตามขบค เข้าคุมการสอบสวนอยู่อีก เพราะ ฝ่ายปกครองยังโต้แย้งว่า สามารถใช้อำนาจเป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวนได้สองทาง ตามกฎ ทางหนึ่ง และตามข้อบังคับ 23 อีกทางหนึ่ง โดยไม่ได้กล่าวถึงสิทธิได้รับการสอบสวนอย่างถูกต้องตามกฎหมายของประชาชนว่าจะได้รับผลกระทบอย่างไรหรือไม่หากมีการใช้อำนาจตามข้อบังคับเข้าคุมการสอบสวนของตำรวจ |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
บุคคลทั่วไป

|
ตอบ: 13/04/2014 9:40 pm ชื่อกระทู้: Re: กฎกระทรวง ฉบับที่๒ พงส.ฝ่ายปกครอง |
|
|
พงส.แปดริ้ว-๒๐๐๘ บันทึก: | "ให้พนักงานสอบสวนฝ่ายปกครองสอบสวนได้" ....
แสดงว่า ...ไม่สอบสวนก็ได้ ...ส่งให้...ตำรวจสอบสวน....
ทุกกฎหมายยังไม่ตัดสิทธิ์ตำรวจอยู่ดี ... เพียงแต่ให้ฝ่ายปกครองสอบสวนได้...
คดีปืน...คดีสถานบริการ ...เอากลับมาแล้ว
เดี๋ยวอีกขั้วหากกลับมาเป็นรัฐบาล...(แต่ไม่รู้อีกนานเท่าไหร่) ...ก็จะกลับมาแก้กฎกระทรวงนี้อีกไม่เชื่อคอยดู...
 |
ดูข้อ 4 ให้นายอำเภอเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ คดี 16 พรบ ผกก สภ จึงเป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวนไม่ได้เพร่ะกฎกระทรวงไม่ให้อำนาจเป็น แต่เขาให้นายอำเภอเป็นแล้ว ถ้าตำรวจรับร้องทุกข์สอบสวนไว้ต้องส่งให้นายอำเภอรับผิดชอบสั่งคดี |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
บุคคลทั่วไป

|
ตอบ: 14/04/2014 10:14 am ชื่อกระทู้: Re: กฎกระทรวง ฉบับที่๒ พงส.ฝ่ายปกครอง |
|
|
เอกสารเผยแพร่ของ ปค ที่ว่า คดี 16 พรบ ไม่ตัดอำนาจตำรวจ ถูกถอดออกจากเวป dopa แล้วคับ แต่อาจมีหลงตามเวปทั่วไปที่กอปเอกสารนี้มา |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
บุคคลทั่วไป

|
ตอบ: 03/03/2016 11:32 am ชื่อกระทู้: Re: กฎกระทรวง ฉบับที่๒ พงส.ฝ่ายปกครอง |
|
|
216/2559 ฝ่ายปกครองมีอำนาจสอบสวนจำกัดตามกฎกระทรวง 16 ประเภทคดี คดีนอกกฎกระทรวงเป็นอำนาจฝ่ายตำรวจ ต่างฝ่ายต่างมีอำนาจสอบสวน จะไปแย่งกัน ไปเกี่ยงกันไม่ได้
แม่น้ำสองสายของการทำสำนวน ชัดเจนแล้วว่า ฝ่ายปกครองสอบสวนคดีอะไร ฝ่ายตำรวจสอบสวนคดีอะไร ประชาชนรับทราบจากประกาศราชกิจจา
เป็นการแบ่งหน้าที่กันทำ แต่อำนาจสอบสวนยังคงเป็นหนึ่งเดียว สอบสวนในฐานะเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจหน้าที่ทำการสอบสวน
 |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
|
|
|