ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
dow7105 สมาชิกใหม่

เข้าร่วมเมื่อ: 28/04/2012 ตอบ: 4
|
ตอบ: 28/04/2012 7:27 am ชื่อกระทู้: พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด กับ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ |
|
|
รบกวนสอบถามอาจารย์เทพธันเดอร์ กรณีจับกุมยาเสพติดโดยการล่อซื้อได้ยาบ้าจำนวน 4 เม็ด เงินเบอร์แบ็งค์ตรวจค้นได้ในตัวผู้ต้องหา พงส.ให้นำผู้ต้องหาไปตรวจปัสสาวะ เนื่องจากอ้างว่ายาบ้าที่ล่อซื้อได้ไม่ถึง 5 หน่วยการใช้ จากนั้นนำมาบันทึกจับกุมส่งพนักงานสอบสวน โดยแจ้งข้อหาว่า มียาเสพติดไว้ในครอบครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่าย และเสพ ต่อมา พงส.แจ้งว่าผู้ต้องหาต้องเข้าฟื้นฟู ตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด 2545 จึงเรียนถามอาจารย์ว่า กรณีดังกล่าวสามารถดำเนินการตามพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ 2522 ได้หรือไม่ ขอบคุณครับ
ลิงก์ผู้สนับสนุน Sponsored Links
|
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
หนุ่มเมืองบั้งไฟ สมาชิกใหม่

เข้าร่วมเมื่อ: 22/07/2011 ตอบ: 72
|
ตอบ: 28/04/2012 7:38 am ชื่อกระทู้: |
|
|
ข้อหาเสพและจำหน่าย,เพื่อจำหน่าย ฯถ้าได้ยาบ้าของกลางไม่เกิน 5 เม็ด(หน่วยการใช้) เข้าตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูฯ มาตรา 19 |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
เทพธันเดอร์นครปฐม สุดยอดแฟนพันธุ์แท้


เข้าร่วมเมื่อ: 24/01/2008 ตอบ: 8182
|
ตอบ: 28/04/2012 7:47 am ชื่อกระทู้: |
|
|
ก็ต้องฟื้นฟูซิครับเพราะเข้าเกณฑ์ตามกฎหมายแล้ว
มีบางสถานี ฝ่ายสืบจับจำหน่ายยาบ้า 5 เม็ด มาส่ง พงส. แล้วไม่ตรวจเยี่ยว ทนายความผู้ต้องหาไปร้องเรียนว่า พงส.ไม่ตรวจเยี่ยว เพราะผู้ต้องหาเสพยาบ้าด้วย ต้องวุ่นวายส่งไปตรวจ ปรากฎว่าเจอสารเสพติดยาบ้าจริงๆ
การที่ พงส.ไปอ้างว่าฝ่ายจับไม่ตรวจให้ จะไปเอาฝ่ายจับเป็นเกณฑ์ไม่ได้ หากฝ่ายจับไม่ต้องการให้ฟื้นฟู ก็ไม่ตรวจ หากต้องการให้ฟื้นฟูถึงจะตรวจ ก็จะเป็นช่องทางทุจริตกันซิครับ หากฝ่ายจับไม่ตรวจมาให้ พงส.ก็ต้องตรวจ
คำพูด: | มาตรา ๑๙ ผู้ใดต้องหาว่ากระทำความผิดฐานเสพยาเสพติด เสพและมีไว้ในครอบครอง เสพและมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย หรือเสพและจำหน่ายยาเสพติดตามลักษณะชนิด ประเภท และปริมาณที่กำหนดในกฎกระทรวง ถ้าไม่ปรากฏว่าต้องหาหรืออยู่ในระหว่างถูกดำเนินคดีในความผิดฐานอื่นซึ่งเป็นความผิดที่มีโทษจำคุกหรืออยู่ในระหว่างรับโทษจำคุกตามคำพิพากษาของศาล ให้พนักงานสอบสวนนำตัวผู้ต้องหาไปศาลภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ต้องหานั้นมาถึงที่ทำการของพนักงานสอบสวน เพื่อให้ศาลพิจารณามีคำสั่งให้ส่งตัวผู้นั้นไปตรวจพิสูจน์การเสพหรือการติดยาเสพติด เว้นแต่มีเหตุสุดวิสัยหรือมีเหตุจำเป็นอย่างอื่นที่เกิดจากตัวผู้ต้องหานั้นเอง หรือจากพฤติการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปซึ่งทำให้ไม่อาจนำตัวผู้ต้องหาไปศาลภายในกำหนดเวลาดังกล่าวได้
ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ถ้าผู้ต้องหามีอายุไม่ถึงสิบแปดปีบริบูรณ์ ให้พนักงานสอบสวนนำตัวส่งศาลเพื่อมีคำสั่งให้ตรวจพิสูจน์ภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ต้องหานั้นมาถึงที่ทำการของพนักงานสอบสวน
การส่งไปตรวจพิสูจน์การเสพหรือการติดยาเสพติด ให้ศาลพิจารณาส่งตัวไปควบคุมเพื่อตรวจพิสูจน์ที่ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด สถานที่เพื่อการตรวจพิสูจน์ การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดหรือการควบคุมตัวตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด โดยคำนึงถึงอายุ เพศ และลักษณะเฉพาะบุคคลประกอบด้วย แล้วให้ศาลแจ้งคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดทราบ
ในระหว่างการตรวจพิสูจน์และการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ให้พนักงานสอบสวนดำเนินกระบวนการสอบสวนคดีต่อไป และเมื่อสอบสวนเสร็จให้ส่งสำนวนการสอบสวนไปยังพนักงานอัยการโดยไม่ต้องส่งผู้ต้องหาไปด้วย และแจ้งให้ทราบว่าผู้ต้องหาถูกควบคุมตัวอยู่ ณ ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด สถานที่เพื่อการตรวจพิสูจน์ การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด หรือการควบคุมตัวอย่างแห่งใด
ในระหว่างที่ผู้ต้องหาถูกควบคุมตามพระราชบัญญัตินี้ พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการไม่ต้องดำเนินการฝากขังหรือขอผัดฟ้องตามกฎหมาย |
หนังสือ ตร. ที่ 0004.6/2152 ลง 3 มีนาคม 2546 เรื่อง แนวทางการปฏิบัติตาม พรบ.ฟื้นฟูฯ2545 (ลิ้งล่าง)ชัดเจนอยู่แล้ว
http://www.sobsuan.com/modules.php?name=Forums&file=download&id=234
กฎกระทรวงกำหนดปริมาณยาเสพติดฯ
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/00119749.PDF |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
อาข่า สมาชิก


เข้าร่วมเมื่อ: 31/05/2008 ตอบ: 168
|
ตอบ: 28/04/2012 10:51 am ชื่อกระทู้: Re: |
|
|
ชัดเจนมากครับอาจารย์เทพฯ |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
BiG-Boss สมาชิกใหม่

เข้าร่วมเมื่อ: 24/04/2012 ตอบ: 49
|
ตอบ: 28/04/2012 11:29 am ชื่อกระทู้: |
|
|
คำพูด: | มาตรา ๑๙ ผู้ใดต้องหาว่ากระทำความผิดฐาน(1)เสพยาเสพติด, (2)เสพและมีไว้ในครอบครอง, (3)เสพและมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย หรือ (4)เสพและจำหน่ายยาเสพติด ตามลักษณะชนิด ประเภท และปริมาณที่กำหนดในกฎกระทรวง ถ้าไม่ปรากฏว่าต้องหาหรืออยู่ในระหว่างถูกดำเนินคดีในความผิดฐานอื่นซึ่งเป็นความผิดที่มีโทษจำคุกหรืออยู่ในระหว่างรับโทษจำคุกตามคำพิพากษาของศาล ให้พนักงานสอบสวนนำตัวผู้ต้องหาไปศาลภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ต้องหานั้นมาถึงที่ทำการของพนักงานสอบสวน เพื่อให้ศาลพิจารณามีคำสั่งให้ส่งตัวผู้นั้นไปตรวจพิสูจน์การเสพหรือการติดยาเสพติด |
ถามเพิ่มเติมว่า ถ้าเป็นความผิดฐาน "เสพ,จำหน่ายและมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย" ของกลางรวมกันไม่เกิน 5 หน่วยการใช้ จะต้องเข้าฟื้นฟูด้วยหรือไม่? |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
จอมเมฆินทร์ แฟนคลับ


เข้าร่วมเมื่อ: 11/06/2008 ตอบ: 202
|
ตอบ: 28/04/2012 8:21 pm ชื่อกระทู้: Re: |
|
|
กรณีเช่นนี้มันเป็น ๓ ข้อหา (๓ เด้ง) ผมเคยนำไปฟื้นฟูแล้วศาลไม่ให้เนื่องจากศาลเห็นว่าการฟื้นฟูนั้นข้อหาเสพเป็นหลัก จะต้องบวกอีก ๑ ข้อหา(เป็น ๒ ข้อหา) เท่านั้น คือเสพและเพื่อจำหน่าย หรือเสพและจำหน่าย แต่หากเสพและเพื่อจำหน่ายและจำหน่าย ศาลเห็นว่าเกินกว่าที่กฎหมายบัญญัติไว้ นี่ผมประสบด้วยตนเอง ดีที่ผมทำคำร้องฝากขังไปพร้อมด้วย จึงไม่ต้องเสียเวลา(ศาลภูเขียว) |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
สุรีย์ สมาชิก


เข้าร่วมเมื่อ: 03/01/2012 ตอบ: 124
|
ตอบ: 29/04/2012 1:33 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
แสดงว่าจำหน่าย อย่างเดียวบวกเสพ, หรือครอบครองอย่างเดียวบวกเสพ , หากจำหน่ายแล้วค้นเจอยาบ้าฯในบ้านด้วย ก็ฟื้นฟูไม่ได้ ( จะเป็นมีไว้ในความครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่าย ฯ และเสพ) ถูกต้องไหม |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
คิวมูลลัส แฟนคลับ


เข้าร่วมเมื่อ: 25/02/2011 ตอบ: 327
|
ตอบ: 30/04/2012 10:27 am ชื่อกระทู้: |
|
|
การกระทำของผู้ต้องหาเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติด และเป็นกรณีที่ต้องส่งฟื้นฟูตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟู พงส. ต้องดำเนินการต่อเนื่องกันไปให้ครบถ้วน มิใช่เลือกจะทำแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง
1) เมื่อปรากฏว่าผู้ต้องหาให้การว่าเสพด้วย เห็นว่าเป็นกรณีมีหลักฐานตามสมควรที่จะแจ้งข้อหาดำเนินคดีกับผู้ต้องหาในความผิดฐานเสพได้ จากนั้นก็ตัองตรวจฉี่ เพราะเป็นการรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความผิดของผู้ต้องหาว่าเสพจริงหรือไม่
2) หากชัดว่าเป็นผู้เสพ แต่ พงส. ไม่ยอมส่งฟื้นฟู พงส.เลือกจะส่งฝากขังตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ (เพราะ พงส.สะดวกกว่า) การสอบสวนของ พงส. เป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ฟื้นฟูฯ ส่งผลให้การสอบสวนมิชอบ อัยการฯ ไม่มีอำนาจฟ้อง เมื่อถึงชี้นศาล ศาลต้องยกฟ้อง
3) เมื่อศาลยกแล้ว พงส. ต้องกลับมาดำเนินคดีตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูฯ หากปรากฏต่อไปว่าผู้ต้องหาไม่ยอมฟื้นฟู หรือ ฟื้นฟูไม่สำเร็จ ฯลฯ การที่ พงส. ไม่ตรวจฉี่ไว้ แล้วผู้ต้องหาปฏิเสธ คดีก็มีพยานหลักฐานไม่พอฟังลงโทษผู้ต้องหา ศาลก็ยกฟ้องคดีเสพได้อีกดอกหนึ่ง
4) เจตนารมย์ของกฎหมายต้องการให้ผู้เสพที่อยู่ในเกณฑ์ได้รับการฟื้นฟูทุกราย ดังนั้นถ้าเข้าเกณฑ์ก็ตรวจฉี่ไปเถอะครับ ทั้งเป็นประโยชน์ตามกฎหมายของผู้เสพเขา ประเทศจะได้มีผู้เสพน้อยลง ยาเสพติดก็แพร่ระบาดลดลงด้วย (พงส. ต้องยอมเหนื่อยเพื่อชาติ) โปรดอย่าเอาอารมณ์ของตำรวจผู้จับที่เคยชินกับการจับติดคุกมาแทรกแซงการทำงานตามกฎหมายของ พงส. เลย |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
พอ.งอ.สอ.น้องใหม่ สมาชิกใหม่

เข้าร่วมเมื่อ: 23/02/2013 ตอบ: 1
|
ตอบ: 24/02/2013 1:11 am ชื่อกระทู้: พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด กับ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ |
|
|
ตกลงว่า แล้วแต่ดุลยพินิจของศาล เหรอครับพี่ เพราะ ตามตัวบทแล้ว มีแต่ สองข้อหา นะครับ และศาลบางที่ก็ให้ ฟื้นฟูได้ ข้อทราบเพิ่มเติมด้วยครับ จากน้องใหม่ |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
|
|
|