Facebook Page สอบสวน 599 Twitter สอบสวน 599 Youtube สอบสวน 599 facebook group สอบสวน 599 เพิ่มเพื่อน

sobsuan.com :: ดูกระทู้ - ข้อสอบวิชาระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ข้อสอบวิชาระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    sobsuan.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> สอบตำรวจ
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kun2551
สมาชิกใหม่


เข้าร่วมเมื่อ: 15/01/2012
ตอบ: 19

ตอบตอบ: 15/01/2012 4:29 pm    ชื่อกระทู้: ข้อสอบวิชาระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526 ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1.ใครเป็นผู้วางระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526
- คณะรัฐมนตรี

2.ข้อความใดเป็นความหมายของงานสารบรรณตามระเบียบนี้
-การเก็บรักษา , การรับ-การส่ง, การจัดทำ,การยืม,การทำลาย

3.ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณที่ถือปฏิบัติในขณะนี้เป็นฉบับ พ.ศ.ใด
- พ.ศ. 2526

4. หนังสือราชการ คือ
- เอกสารที่เป็นหลักฐานในราชการ

5.หนังสือที่ต้องปฏิบัติให้เร็วกว่าปกติ แบ่งเป็นกี่ประเภท
- 3 ประเภท (ด่วน,ด่วนมาก,ด่วนที่สุด)

6.ส่วนราชการใดมีความจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติงานสารบรรณนอกเหนือไปจากที่กำหนดไว้ในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526 ให้ขอทำความตกลงกับใคร
- ปลัดสำนักนกยกรัฐมนตรี

7.หนังสือราชการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ มีกี่ชนิด
- 6 ชนิด

8.หนังสือราชการคือ เอกสารที่เป็นหลักฐานในราชการมีกี่ประเภท
- 6 ประเภท

9.ถ้าผู้รับหนังสือเป็นรัฐมนตรีคำขึ้นต้นใช้คำว่าอะไร
- เรียน (คำลงท้าย..ขอแสดงความนับถือ)

10.ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 ให้ใช้บังคับตั้งแต่เมื่อใด
- วันที่ 24 กันยายน 2548

11.หนังสือที่ติดต่อราชการเป็นแบบพิธีได้แก่หนังสือชนิดใด
- หนังสือภายนอก

12.ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526 ใช้บังคับแล้ว ให้ยกเลิกฉบับใดบ้าง
- ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2506
- ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลงชื่อในหนังสือราชการ พ.ศ. 2507
- ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลงชื่อในหนังสือราชการ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2516

13.งานสารบรรณมีความหมายตรงกับ..
- งานที่เกี่ยวกับการบริหารงานเอกสาร เริ่มตั้งแต่การจัดทำ การรับ การส่ง การเก็บรักษา การยืม จนถึงการทำลาย

14.”หนังสือ” ตามระเบียบนี้ หมายความว่าอะไร
- หนังสือราชการ

15.หนังสือประทับตราใช้สำหรับ..
- การเตือนเรื่องที่ค้าง
- การขอรายละเอียดเพิ่มเติม
- การแจ้งผลงานให้ผุ้เกี่ยวข้องทราบ

16.เจ้าของเรื่องจะเก็บหนังสือประเภทใดได้บ้าง
- เจ้าของเรื่องสามารถเก็บหนังสือทั้งที่เป็นต้นฉบับและสำเนาซึ่งเป็นหนังสือที่อยู่ในระหว่างปฏิบัติและหนังสือที่ปฏิบัติการเสร็จแล้วแต่ต้องเก็บไว้เพื่อใช้ในการตรวจสอบ

17.การทำสำเนาในระเบียบงานสารบรรณ พ.ศ.2526 ประกอบด้วยอะไรบ้าง
- สำเนาคู่ฉบับ หนังสือราชการเป็นหลักฐานที่สำคัญในราชการระเบียบงานสารบรรณจึงบังคับให้มีสำเนาคู่ฉบับไว้อย่างน้อย 1 ฉบับ
- การทำสำเนา กระทำได้หลายวิธี เช่น ถ่าย อัด คัด เป็นต้น
- เอกสารทางราชการจำเป็นต้องมีสำเนาซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องส่งให้ผู้เกี่ยวข้องทราบหลายคน

18.ผู้ที่จะทำงานสารบรรณได้ดีจำเป็นต้องรู้งานด้านธุรการในลักษณะใดบ้าง
- มีความรู้ด้านภาษาเป็นอย่างดี
- มีการติดต่อ โต้ตอบและประสานงานที่ดี
- รู้จักกาลเทศะ ความควรไม่ควร

19.หนังสือสั่งการ มี 3 ชนิดได้แก่
คำสั่ง, ระเบียบ, ข้อบังคับ

20.หนังสือประชาสัมพันธ์มี 3 ชนิดได้แก่
ประกาศ, แถลงการณ์, ข่าว

http://www.คลังข้อสอบ.net/tankun
สมาชิก ขั้นที่ 2


โพสต์: 135
ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร 14 มิ.ย. 2011 7:43 am ข้างบน
--------------------------------------------------------------------------------
Re: ข้อสอบวิชาสารบรรณ
โดย kun2551 » ศุกร์ 13 ม.ค. 2012 6:45 pm

กฎ ก.ตร.การสืบสวนข้อเท็จจริง พ.ศ.2547
1.กรณีใดที่ต้องทำการสืบสวนข้อเท็จจริง?
ก.ผู้บังคับบัญชามีเหตุอันควรสงสัยว่าข้าราชการตำรวจในบังคับบัญชาผู้ใดกระทำผิดวินัข
ข.ส่วนราชการอื่นหรือหน่วยงานอื่นแจ้งมาให้ทราบว่าข้าราชการตำรวจในบังคับบัญชาผู้ใดกระทำผิดวินัยหรือสงสัยกระทำผิดวินัย
ค.กรณีอื่นๆ ที่ผู้บังคับบัญชาหรือจเรตำรวจเห็นควรให้มีการสืบสวนข้อเท็จจริง
ง.ทุกข้อที่กล่าวมาต้องมีการสืบสวนข้อเท็จจริง
ตอบ ง.
2.การแต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวนหรือสั่งให้ผู้ใดทำการสืบสวนประธานกรรมการหรือผู้สืบสวน ต้องมีตำแหน่งและยศในระดับใด
ก.ไม่ต่ำกว่าผู้ถูกกล่าวหา
ข.ถ้าเป็นราชการบริหารส่วนกลาง ประธานกรรมการหรือผู้ทำการสืบสวนต้องมียศไม่ต่ำกว่าพันตำรวจตรี
ค. ถ้าเป็นราชการส่วนภูมิภาคต้องมียศไม่ต่ำกว่าร้อยตำรวจเอก
ง.ทุกข้อถูก
ตอบ ง.
3. การประชุมกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงต้องมีกรรมการสืบสวนมาประชุมไม่น้อยกว่ากี่คน ?
ก.ไม่น้อยกว่าสามคน
ข.ไม่น้อยกว่าห้าคนและไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการสืบสวนทั้งหมด
คไม่น้อยกว่าสี่คนและไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการสืบสวนทั้งหมด
ง.ไม่น้อยกว่าสามคนและไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการสืบสวนทั้งหมด
ตอบ. ง.ไม่น้อยกว่าสามคนและไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการสืบสวนทั้งหมด
(ข้อ 14 (2))
4. การประชุมกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงข้อใดถูก?
ก.ต้องมีประธานเข้าร่วมประชุมด้วยไม่มีข้อยกเว้น
ข.หากประธานไม่สามารถมาประชุมได้ ให้ รอง นายกฯ เข้าประชุมแทนได้
ค. นายกฯ สามารถมอบอำนาจให้ใครมาเป็นประธานก็ได้
ง. หากประธานไม่สามารถมาประชุมได้ให้กรรมการที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งทำหน้าที่แทน
ตอบ ง. หากประธานไม่สามารถมาประชุมได้ให้กรรมการที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งทำหน้าที่แทน



5. กรณีการสืบสวนข้อเท็จจริงหากสืบสวนไม่เสร็จและขออนุมัติขยายเวลาออกไปอีกหลายครั้งจนครั้งสุดท้าย หากมีความจำเป็นจะขยายระยะเวลาสืบสวนออกไปเกินกว่าสามสิบวัน ให้เสนอขออนุมัติต่อใคร?
ก. ผู้สั่งแต่งตั้งกรรมการสืบสวน
ข.ผู้บังคับบัญชา ที่มอบหมาย
ค.ผู้บังคับบัญชาโดยตรง
ง.ผู้บังคับบัญชา ชั้นเหนือถัดขึ้นไปอีกชั้นหนึ่ง
ตอบ. ง.ผู้บังคับบัญชา ชั้นเหนือถัดขึ้นไปอีกชั้นหนึ่ง (ข้อ 16(2))

6. กรณีแต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวนให้มีคณะกรรมการซึ่งเป็นข้าราชการประจำอย่างน้อยกี่คน?
ก. 2 คน ข . 3 คน
ค. 4 คน ง. 5 คน
ตอบ ข
7. การแจ้งคำสั่งให้แจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงข้อเท็จจริงในเรื่องที่ถูกกล่าวหาต่อประธานกรรมการสืบสวนภายในกี่วัน
ก.7 วัน ข. 15 วัน
ค. 30 วัน ง. 45 วัน
ตอบ ข.
8.การสืบสวนข้อเท็จจริง คณะกรรมการสืบสวนหรือผู้สืบสวน ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็วที่สุดอย่างไร?
ก. ไม่เกิน 15 วัน ข.ไม่เกิน 30 วัน
ค. ไม่เกิน 60 วัน ง. ไม่เกิน 90 วัน
ตอบ ค.
9.ถ้าเอกสารที่ใช้เป็นพยานหลักฐานในสำนวนการสืบสวนให้ใช้ต้นฉบับ แต่ถ้าไม่อาจจำต้นฉบับมาได้จะทำอย่างไร?
ก.ไม่จำเป็นต้องใช้ก็ได้ ข. ให้รวบรวมใหม่ และ ขอให้ กรรมการสืบสวน รับรอง
ค.ใช้สำเนาที่ผู้สืบสวนหรือ คณะกรรมการที่มีหน้าที่รับผิดชอบก็ได้
ง.จะใช้สำเนาที่กรรมการสืบสวนหรือ ผู้สืบสวน หรือผู้มีหน้าที่รับผิดชอบรับรองว่าเป็นสำเนาถูกต้อง

ตอบ ง.

10.การสอบปากคำผู้ถูกกล่าวหาและพยานของคณะกรรมการสืบสวนต้องมีกรรมการสืบสวนอย่างน้อยกี่คนจึงจะสอบสวนได้?
ก. ไม่น้อยกว่า 2 คน ข.ไม่น้อยกว่า 5 คน
ค. ไม่น้อยกว่า 8 คน ง. ไม่นอ้ยกว่า 15 คน

ตอบ ก.
11. ในกรณีที่ผู้ให้ถ้อยคำหรือผู้ร่วมฟัง ที่อยู่ในที่สืบสวนไม่ยอมลงลายมือชื่อให้บันทึกเหตุนั้นไว้ในบันทึกถ้อยคำนั้น ใครจะต้องเป็นผู้ลงลายมือชื่อรับรองด้วย ?
ก. ประธานสืบสวนทุกคนที่รวมสืบสวนหรือประธานผู้สืบสวน
ข. กรรมการทุกคนรวมทั้งประธานด้วย
ค. กรรมการสืบสวนเฉพาะที่ร่วมสืบสวนเท่านั้น
ง. กรรมการสืบสวนทุกคนที่รวมสืบสวนหรือผู้สืบสวน

ตอบ . ง.
12.การพิจารณาการคัดค้านผู้ที่ได้รับหนังสือคัดค้านอาจตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ตามความเหมาะสมและให้พิจารณาสั่งการโดยไม่ชักช้า ภายใน กี่ วัน ?
ก. ไม่เกิน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสืบคัดค้าน
ข. ไม่เกิน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสืบคัดค้าน
ค. ไม่เกิน 45 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสืบคัดค้าน
ง. ไม่เกิน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสืบคัดค้าน
ตอบ ข.
13.ในการสอบปากคำผู้ถูกกล่าวหา ผู้ถูกกล่าวหา จะนำทนายความหรือที่ปรึกษาของตนจำนวนกี่คนเข้าร่วมรับฟังได้ และห้ามบุคคลใดเข้าร่วมฟัง
ก. ไม่เกินสองคนเข้าร่วมฟังได้ ทนายความหรือที่ปรึกษาที่เข้าร่วมฟังจะให้ถ้อยคำแทนผู้ถูกกล่าวหาก็ได้
ข. ไม่เกินหนึ่งคนเข้าร่วมฟังได้ ทนายความหรือที่ปรึกษาที่เข้าร่วมฟังจะให้ถ้อยคำแทนผู้ถูกกล่าวหาได้
ค. ไม่เกินสองคนเข้าร่วมฟังได้ ทนายความหรือที่ปรึกษาที่เข้าร่วมฟังจะให้ถ้อยคำแทนผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้
ง. ไม่เกินหนึ่งคนเข้าร่วมฟังได้ ทนายความหรือที่ปรึกษาที่เข้าร่วมฟังจะให้ถ้อยคำแทนผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้
ตอบ ง.

14. กรณีปรากฏ ว่า การสืบสวนตอนใดไม่ถูกต้อง ในการสืบสวนตอนนั้นเสียไป เฉพาะในกรณีใดบ้าง ?
ก.การประชุมของคณะกรรมการสืบสวนมีกรรมการสืบสวนมาประชุมไม่ครบ
ข.การสอบปากคำบถุคคลดำเนินการไม่ถูกต้องตามที่กำหนดไว้
ค. ถูกทั้ง ก และ ข
ง. ผิดทั้ง ก และ ข
ตอบ ค.
15 ในการบันทึกถ้วยคำ ห้ามมิให้ขูดลบหรือบันทึกข้อความทับถาจะต้องแก้ไข ข้อความที่ได้บันทึกไว้แล้วให้ใช้วีธีใด และให้กรรมการสืบสวนผู้ร่วมสืบสวนอย่างน้อยกี่คน
ก. อย่างน้อย 1 คน หรือ ผู้สืบสวนกับผู้ให้ถ้อยคำลงลายมือชื่อกำกับไว้ทุกแห่งที่ขีดฆ่าหรือ ตกเติม
ข . อย่างน้อย 2 คน หรือ ผู้สืบสวนกับผู้ให้ถ้อยคำลงลายมือชื่อกำกับไว้ทุกแห่งที่ขีดฆ่าหรือ ตกเติม
ค. อย่างน้อย 3 คน หรือ ผู้สืบสวนกับผู้ให้ถ้อยคำลงลายมือชื่อกำกับไว้ทุกแห่งที่ขีดฆ่าหรือ ตกเติม
ง. อย่างน้อย 4 คน หรือ ผู้สืบสวนกับผู้ให้ถ้อยคำลงลายมือชื่อกำกับไว้ทุกแห่งที่ขีดฆ่าหรือ ตกเติม
ตอบ ก.

จริยธรรมและจรรยาบรรณตำรวจ (ใช้สอบชั้นประทวน )
16. จริยธรรมของตำรวจหมายถึงอะไร?
ก. คุณงามความดี ความประพฤติที่เรียบร้อย การปฏิบัติหน้าที่ที่ถูกต้อง
ข. คุณงามความดีทั้งทางกาย วาจา และ ใจ ควรประพฤติปฏิบัติทั้งในหน้าที่ การงาน และ ชีวิตประจำวัน
ค. คุณงามความดีทั้งทางกาย วาจา และใจ รวมถึง การปฏิบัติตนตามหน้าที่ผู้มีวิชาชีพตำรวจ
ง. คุณงามความดี ความยึดมั่นในความคิดสูงสุดในหน้าที่ตำรวจ
ตอบ ข.
17 ค่านิยมหลัก หมายความว่าอย่างไร
ก. อุดมคติของตำรวจไทย
ข.ความเชื่อถือมาตรฐานข้าราชการตำรวจ
ค. วิสัยทัศน์ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ง. ถูกหมด
ตอบ ข.
18. ข้อมูล ข่าวสารที่ข้าราชการตำรวจได้มาจากการปฏิบัติหน้าที่ ต้องรักษาเป็นความลับ จะเปิดเผยได้เมื่อไร?
ก.เมื่อมีความจำเป็นต่อการปฏิบัติหน้าที่ หรือเพื่อประโยชน์ใน ราชการตำรวจที่ชอบด้วยกฎหมาย หรือเพื่อการดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมเท่านั้น
ข..เมื่อมีความจำเป็นและศาลสั่ง
ค.เพื่อประโยชน์ของผู้ปฏิบัติหน้าที่ใน ราชการเท่านั้น
ง. เพื่อการดำเนินการตามกระบวนการของผู้บังคับบัญชาและ สำนักงานตำรวจแห่งชาติเท่านั้น
ตอบ ก.
19.จรรยาบรรณของตำรวจคือ อะไร?
ก. ประมวลความรู้ในการปฏิบัติหน้าที่ของวิชาชีพตำรวจ ที่ข้าราชการตำรวจต้องยึดถือนำมาปฏิบัติ
ข.ประมวลความประพฤติในการปฏิบัติหน้าที่ของวิชาชีพตำรวจ ที่ข้าราชการตำรวจต้องยึดถือ เพื่อธำรงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิของข้าราชการตำรวจและวิชาชีพตำรวจ
ค.ประมวลความสามารถของวิชาชีพตำรวจ ที่ข้าราชการตำรวจต้องยึดถือ เพื่อธำรงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีของประเทศ
ง. ประมวลศีลธรรมของตำรวจ ที่ต้องยึดถือ เพื่อนำไปปฏิบัติในหน้าที่ของตนให้มีจรรยาบรรณ
ตอบ ข.ประมวลความประพฤติในการปฏิบัติหน้าที่ของวิชาชีพตำรวจ ที่ข้าราชการตำรวจต้องยึดถือ เพื่อธำรงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิของข้าราชการตำรวจและวิชาชีพตำรวจ
20. การทารุณหรือทารุณกรรม หมายถึง?
ก.การปฏิบัติหรือกระทำใดๆ ต่อร่างกายหรือจิตใจของบุคคล ในลักษณะที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือก่อให้เกิดความเจ็บปวดอย่างแสนสาหัส หรือ ดูถูกศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
ข.การกระทำการใดๆต่อบุคคล ที่ผิดตามบัญญัติของกฎหมาย และระบุว่าเป็นความผิดทางอาญา
ค.การกระทำใดๆต่อบุคคล ในลักษณะที่โหดร้าย ผิดสิทธิมนุษยชน หรือก่อให้เกิดความเจ็บต่อกายใจความเป็นมนุษย์
ง.ถูกทุกข้อ
ตอบ ก.การปฏิบัติหรือกระทำใดๆ ต่อร่างกายหรือจิตใจของบุคคล ในลักษณะที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือก่อให้เกิดความเจ็บปวดอย่างแสนสาหัส หรือ ดูถูกศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
(ข้อ 2 ฉบับแนบท้ายกฎ ก.ตร.)
21.ข้าราชการตำรวจต้องยึดมั่นในจรรยาบรรณตำรวจและกฎหมายอย่างเคร่งครัดแต่ กรณีใดอาจใช้มาตรการรุนแรง ?
ก.ผู้บังคับบัญชาสั่ง ข. มีเหตุผลเพียงพอ
ค.การใช้มาตรการปกติแล้วไม่เพียงพอที่จะหยุดยั้งผู้กระทำผิดหรือผู้ต้องสงสัยได้
ง. กรณีจำเป็นเร่งด่วน จะรอคำสั่งผู้บังคับบัญชาไม่ได้ เพราะทำให้รูปคดีเสีย

ตอบ ค.การใช้มาตรการปกติแล้วไม่เพียงพอที่จะหยุดยั้งผู้กระทำผิดหรือผู้ต้องสงสัยได้
(ข้อ 17 (3) ฉบับแนบท้าย กฎ ก.ตร.)
22. คุณธรรมที่ข้าราชการตำรวจยึดถือ ตามประบรมราโชวาทเป็นเครื่องยึดหนี่ยวรั้งในการประพฤติปฏิบัติตนและปฏิบัติหน้าที่ มีกี่ประการ
ก. สามประ การ ข. สี่ประการ ค. ห้าประการ ง. หกประการ
ตอบ ข.สี่ประการ ( ส่วนที่ 1 ข้อ 4 )
23. การพิจารณาสรรหา กลั่นกรอง หรือแต่งตั้งข้าราชการตำรวจผู้ใดรวมทั้งการโยกย้าย การเลื่อนตำแหน่ง การเลื่อนขั้นเงินเดือน และการลงโทษบุคคลทุกระดับ คำนึงถึงเรื่องใด
ก. พฤติกรรม การปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของบุคคลดังกล่าว
ข. ความสามารถ การปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของบุคคลดังกล่าว
ค. ความรู้ การปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของบุคคลดังกล่าว
ง. ความอาวุโส การปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของบุคคลดังกล่าว
ตอบ ก. พฤติกรรม การปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของบุคคลดังกล่าว

ในการพิจารณาสรรหา กลั่นกรอง หรือแต่งตั้งข้าราชการตำรวจผู้ใดรวมทั้งการโยกย้าย การเลื่อนตำแหน่ง การเลื่อนขั้นเงินเดือน และการลงโทษบุคคล ทั้งในระดับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กองบัญชาการหรือหน่วยเทียบเท่ากองบัญชาการ กองบังคับการ กองกำกับการ สถานีตำรวจ และหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่น ควรคำนึงถึงพฤติกรรม การปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของบุคคลดังกล่าวด้วย

24. กรอบแห่งการประพฤติปฏิบัติของข้าราชการตำรวจคืออะไร
ก.จรรยาบรรณตำรวจตามกฏศีลธรรม
ข.จริยธรรมและจรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือนด้วย
ค.ประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจท้ายกฎ ก.ตร.
ง.ถูกหมด
ตอบ ค.ประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจท้ายกฎ ก.ตร.

ให้ใช้ประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจท้ายกฎ ก.ตร.นี้ เป็นกรอบแห่งการประพฤติปฏิบัติของข้าราชการตำรวจ


25. กฎ ก.ตร. เรื่องประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณตำรวจ นี้ ให้ใช้บังคับเมื่อใด?
ก.พ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันมีพระราชโองการ
ข.พ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ก.พ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกฤษฏีกา
ก.พ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศกฏกระทรวง
ตอบ ข.พ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
กฎ ก.ตร. นี้ ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
26. หน่วยงานระดับใดบ้างที่ควรคำนึงพฤติกรรม การปฏิบัติตนตามประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณ เมื่อมีการพิจารณาสรรหา กลั่นกรอง หรือแต่งตั้งข้าราชการตำรวจผู้ใดรวมทั้งการโยกย้าย การเลื่อนตำแหน่ง การเลื่อนขั้นเงินเดือน และการลงโทษบุคคล ?
ก.ระดับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ข.ระดับกองบัญชาการหรือหน่วยเทียบเท่ากองบัญชาการ กองบังคับการ
ค.ระดับกองกำกับการ สถานีตำรวจ และหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่น
ง.ทุกระดับ
ตอบ ง.ทุกระดับ

ในการพิจารณาสรรหา กลั่นกรอง หรือแต่งตั้งข้าราชการตำรวจผู้ใดรวมทั้งการโยกย้าย การเลื่อนตำแหน่ง การเลื่อนขั้นเงินเดือน และการลงโทษบุคคล ทั้งในระดับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กองบัญชาการหรือหน่วยเทียบเท่ากองบัญชาการ กองบังคับการ กองกำกับการ สถานีตำรวจ และหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่น ควรคำนึงถึงพฤติกรรม การปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของบุคคลดังกล่าวด้วย
27.หน่วยใดทำหน้าที่เป็นศูนย์ส่งเสริมจริยธรรมและพัฒนาคุณธรรมของข้าราชการตำรวจ ?
ก.โรงเรียนพระปริยยัติธรรมทุกแห่ง
ข.ศูนย์วัฒธรรมแห่งประเทศไทย
ค.กระทรวงศึกษาธิการ
ง.กองบัญชาการศึกษา
ตอบ. ง.กองบัญชาการศึกษา

ให้กองบัญชาการศึกษาทำหน้าที่เป็นศูนย์ส่งเสริมจริยธรรมและพัฒนาคุณธรรมของข้าราชการตำรวจ มีหน้าที่กำหนดตัวชี้วัดและหลักเกณฑ์การประเมินเพื่อประกาศเชิดชูเกียรติหน่วยงานและข้าราชการตำรวจที่ประพฤติปฏิบัติดีเยี่ยมตามประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ รวมทั้งรณรงค์ ส่งเสริม ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ กำหนดหลักสูตร พัฒนาและฝึกอบรมข้าราชการตำรวจเกี่ยวกับจริยธรรมและจรรยาบรรณ รวมทั้งสร้างเครือข่ายทั้งภายในและภายนอกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อส่งเสริมจริยธรรมและจรรยาบรรณของข้าราชการตำรวจให้เทียบเท่าระดับสากล
28.หากผู้บังคับบัญชาไม่สอดส่องดูแลการประพฤติตามประมวลจริยธรรมของผู้ใต้บังคับบัญชาให้ถือว่าใครเป็นผู้จงใจละเมิดฝ่าฝื่นประมวลจริยธรรม
ก. ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติสอดส่องดูแล
ข.ให้จเรตำรวจแห่งชาติรับหน้าที่ติดตาม
ค.ให้ถือว่าผู้บังคับบัญชานั้นจงใจละเมิด หรือ ฝ่าฝืนประมวลจริยธรรมนั้น
ง.ถูกหมด
ตอบ ค. ( มาตรา
29. จเรตำรวจมีหน้าที่และอำนาจอย่างไรบ้าง?
ก.ให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณตำรวจ
ข.ให้ความเป็นธรรมในการร้องทุกข์ผู้ใต้บังคับบัญชา
ค.ทำหน้าที่แทน ผบ.ตร.ทุกอย่างที่มอบหมาย
ง.ถูกหมด
ตอบ ก. ( มาตรา
30.สตช.วางระเบียบเกี่ยวกับการรายงานดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในกี่วันนับแต่ กฎ ก.ตร.นี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา?
ก. 7 วัน ข. 15 วัน ค.30 วัน ง.45 วัน
ตอบ ง.45 (9 – 10 )
31..การสอดส่องดูแลการรักษาประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณตำรวจเป็นหน้าที่ของใคร
ก. จเรตำรวจแห่งชาติ ข.ผบ.ตร. ค.ผู้บังคับบัญชาทุกคน ง. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ตอบ ก.( มาตรา
32..สถาบันการฝึกอบรมของสำนักตำรวจแห่งชาติต้องนำประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณตำรวจไปกำหนดแป็นเรื่องใด?
ก.กำหนดเป็นระเบียบในอำนาจหน้าที่เพื่อใช้บังคับตำรวจ
ข.กำหนดเป็นกฎ กระทรวงเพื่อความรับผิดชอบ ในการปฏิบัติตนของตำรวจทุกหน่วย
ค.กำหนดเป็นหลักสูตรการเรียนการสอนที่อยู่ในอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ
ง.กำหนดเป็นระเบียบปฏิบัติเพื่อความรับผิดชอบ ผู้บังคับบัญชา
ตอบ ค.กำหนดเป็นหลักสูตรการเรียนการสอนที่อยู่ในอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ


http://www.คลังข้อสอบ.net/ขอแชร์

ลิงก์ผู้สนับสนุน Sponsored Links
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kun2551
สมาชิกใหม่


เข้าร่วมเมื่อ: 15/01/2012
ตอบ: 19

ตอบตอบ: 19/01/2012 5:57 pm    ชื่อกระทู้: Re: ข้อสอบวิชาระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

http://www.คลังข้อสอบ.net/ขอแชร์ข้อสอบ
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526
1. ระเบียบนี้ใช้บังคับเมื่อ 1 มิถุนายน 2526
2. ระเบียบ ข้อบังคับ มติ ครม. และคำสั่งอื่นใน ที่ขัดแย้งระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
3. ระเบียบนี้ใช้บังคับ แก่ ส่วนราชการ ถ้าส่วนราชการใด มีความจำเป็น จะ ปฏิบัติงานสารบรรณนอกเหนือไปจากที่กำหนดให้ทำความตกลงกับผู้รักษา การตามระเบียบ(ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี)
4. ถ้าระเบียบงานสารบรรณของ ระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัย แห่งชาติ หรือ ระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการกำหนดวิธี ปฏิบัติไว้เป็นอย่างอื่น ก็ให้ถือปฏิบัติตามกฎหมาย นั้น
5. งานสารบรรณ หมายถึง งานที่เกี่ยวกับการบริหารงานเอกสาร เริ่มตั้งแต่ การจัดทำ การรับ การส่ง การเก็บรักษา การยืม จนถึงการทำลาย
6. หนังสือ หมายความว่า หนังสือราชการ
7. อิเล็กทรอนิกส์ หมายความว่า การประยุกต์ใช้วิธีทางอิเล็กตรอน ไฟฟ้า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือวิธีอื่นใด ลักษณะคล้ายกัน และให้หมายถึง การ ประยุกต์ใช้วิธีการทางแสง วิธีการทางแม่เหล็ก หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง กับ การประยุกต์ใช้วิธีการต่าง ๆ เช่นว่านั้น
8. ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ หมายความว่า การรับส่ง ข้อมูลข่าวสาร หรือหนังสือผ่านระบบสื่อสารด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
9. ส่วนราชการ หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม สำนักงาน หรือหน่วยงาน อื่นใดของรัฐ ทั้งในส่วนราชการบริหารส่วนกลาง บริหารราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น หรือในต่างประเทศ และให้หมายความรวมถึง คณะกรรมการด้วย ๑
10. คณะกรรมการ หมายความว่า คณะบุคคลที่ได้รับมอบหมาย จากก ทางราชการให้ปฏิบัติงานในเรื่องใด ๆ และให้หมายความถึง คณะอนุกรรมการ คณะทำงานหรือคณะบุคคลอื่นที่ปฏิบัติงานในลักษณะ เดียวกัน
11. ให้ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผู้รักษาการณ์ตามระเบียบนี้
ให้มีอำนาจ
1. ตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้
2. แก้ไขเพิ่มเติมภาคผนวก
3. จัดทำคำอธิบาย

. การตีความ , วินิจฉัยปัญหา , แก้ไขเพิ่มเติม , และจัดทำคำอธิบาย ปลัดสำนักนายกจะขอความเห็นจากคณะกรรมการพิจารณาปรับปรุง และพัฒนาระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อประกอบให้มีหน้าที่

ให้มีหน้าที่
1. ดำเนินการฝึกอบรม เกี่ยวกับงานสารบรรณ

ชนิดของหนังสือ
1. หนังสือราชการคือ เอกสารที่เป็นหลักฐานในทางราชการ ได้แก่

หนังสือที่มีไปมาระหว่างส่วนราชการ
(ส่วนราชการ ส่วนราชการ)

1.1 หนังสือที่ ส่วนราชการ หน่วยงานที่ไม่ใช่ส่วน ราชการ(เช่น สภาทนายความ), บุคคลภายนอก
1.2 หนังสือที่บุคคลภายนอก , หน่วยงานที่ไม่ใช่ส่วนราชการ
ส่วนราชการ
1.3 เอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้น เพื่อเป็นหลักฐานในทาง
ราชการ

สำคัญมาก…! ๒
1.4 เอกสารที่ทางราชการ จัดทำขึ้นตามกฎหมาย ระเบียบ หรือ ข้อบังคับ
1.5 ข้อมูลข่าวสาร หรือหนังสือที่ได้รับจากระบบสารบรรณ
อิเล็กทรอนิกส์
2. หนังสือราชการมี 6 ชนิด
1. หนังสือภายนอก
2. หนังสือภายใน
3. หนังสือประทับตรา
4. หนังสือสั่งการ
5. หนังสือประชาสัมพันธ์
6. หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้น หรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ
หนังสือภายนอก
คือ หนังสือติดต่อราชการที่เป็นแบบพิธีโดย ใช้กระดาษตราครุฑ เป็นหนังสือติดต่อระหว่างส่วนราชการ หรือ ส่วนราชการมี ถึงหน่วยงานอื่นใดที่มิใช่ส่วนราชการ หรือ มีถึง บุคคลภายนอก โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. ที่
ให้ลงรหัสตัวพยัญชนะ และ เลขประจำของเจ้าของเรื่อง ทับ เลขทะเบียนหนังสือส่ง สำหรับหนังสือของ คณะกรรมการให้กำหนดรหัสตัวพยัญชนะ เพิ่มขึ้นได้ตาม ความจำเป็น
2. ส่วนราชการเจ้าของหนังสือ
ให้ลงชื่อส่วนราชการ สถานที่ราชการหรือคณะกรรมการ ซึ่งเป็นเจ้าของหนังสือนั้น และโดยปกติให้ลงที่ตั้งไว้ด้วย
3. วัน เดือน ปี ๓ ๔
ให้ลงตัวเลขของ วันที่ ชื่อเต็มของเดือน และตัวเลข ของปีพุทธศักราชที่ออกหนังสือ
4. เรื่อง
ให้ลงเรื่องย่อที่เป็นใจความสั้นที่สุดของหนังสือฉบับนั้น ถ้า เป็นหนังสือต่อเนื่องโดยปกติให้ลงเรื่องของหนังสือฉบับเดิม
5. คำขึ้นต้น
ให้ใช้คำขึ้นต้นตามฐานะของผู้รับหนังสือ แล้วลงตำแหน่ง ของผู้ที่หนังสือนั้นมีถึงหรือ ชื่อบุคคลในกรณีที่มีตัวบุคคลไม่ เกี่ยวกับตำแหน่งหน้าที่
6. อ้างถึง (ถ้ามี)
ให้อ้างถึงหนังสือที่เคยมีติดต่อกันเฉพาะหนังสือที่ส่วน ราชการ ผู้รับหนังสือได้รับมาก่อนแล้ว จะจากส่วนราชการ ใดก็ตาม โดยให้ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของหนังสือ และ เลขที่หนังสือ วันที่ เดือน ปีพุทธศักราชของหนังสือนั้น การอ้างถึง ให้อ้างถึงหนังสือฉบับสุดท้ายที่ติดต่อกันเพียง ฉบับเดียว เว้นแต่มีเรื่องอื่นที่เป็นสาระสำคัญต้องนำมา พิจารณา จึงอ้างถึง หนังสือฉบับอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง นั้นโดยเฉพาะให้ทราบด้วย
7. สิ่งที่ส่งมาด้วย (ถ้ามี)
ให้ลงชื่อสิ่งของ เอกสารหรือบรรณสารที่ส่งไปพร้อมกับ หนังสือนั้น ในกรณีไม่สามารถส่งไปในซองเดียวกันได้ ให้ แจ้งด้วยว่าส่งไปในทางใด
8. ข้อความ
ให้ลงสาระสำคัญของเรื่องให้ชัดเจนและเข้าใจง่าย หากมี ความประสงค์หลายประการให้แยกเป็นข้อๆ
9. คำลงท้าย ๕
ใช้คำลงท้ายตาม ฐานะของผู้รับหนังสือนั้น
1. ลงชื่อ ให้ลงลายมือชื่อเจ้าของหนังสือ และให้พิมพ์ชื่อ เต็มของ เจ้าของรายมือชื่อ
2. ตำแหน่ง ให้ลงตำแหน่งเจ้าของหนังสือ
3. ส่วนราชการเจ้าของเรื่อง ให้ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของ เรื่อง หรือหน่วยงานที่ออก หนังสือ ถ้าส่วนราชการที่ออก หนังสืออยู่ในระดับกระทรวงหรือทบวง ให้ลงชื่อส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง ทั้งระดับกรมและกอง ถ้าส่วนราชการที่ออก หนังสือ อยู่ในระดับกรมลงมา ให้ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของ เรื่องเพียงระดับกอง หรือหน่วยงานที่รับผิดชอบ
4. โทร ให้ลงหมายเลขโทรศัพท์ของส่วนราชการเจ้าของ เรื่อง หรือหน่วยงานที่ออกกหนังสือหรือหมายเลขภายใน ตู้สาขา (ถ้ามี) ไว้ด้วย โทรสาร ให้ลงหมายเลขโทรสาร ของส่วนราชการเจ้าของเรื่อง หรือหน่วยงานที่ออกหนังสือ ต่อจากหมายเลขโทรศัพท์
5. สำเนาส่ง (ถ้ามี) ในกรณีที่ผู้ส่งจัดทำสำเนาส่งไปให้ส่วน ราชการ หรือบุคคลอื่นทราบ และประสงค์จะให้ผู้รับทราบ ว่าได้มีการส่งสำเนาไปให้ผู้ใดแล้ว ให้พิมพ์ชื่อเต็มหรือชื่อย่อ ของส่วนราชการ หรือชื่อบุคคลที่ส่งสำเนาไปให้เพื่อให้เป็นที่ เข้าใจระหว่างผู้ส่งและผู้รับ ถ้าหากมีรายชื่อที่ส่งมาก ให้ พิมพ์ว่าส่งไปตามรายชื่อที่แนบ และแนบรายชื่อไปด้วย

คือหนังสือติดต่อราชการที่เป็นแบบพิธีน้อยกว่าหนังสือภายนอก เป็นหนังสือ ติดต่อภายในกระทรวง ทบวง กรม หรือจังหวัดเดียวกัน ใช้กระดาษบันทึก ข้อความ มีรายละเอียดดังนี้
1. ส่วนราชการ
ให้ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่อง หรือ หน่วยงานที่ออก หนังสือ โดยมีรายละเอียดพอสมควร ถ้าเป็นส่วนราชการ ระดับกรมขึ้นไป ให้ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่องทั้งระดับ กรม และกอง ถ้าส่วนราชการอยู่ระดับต่ำกว่ากรมลงมาให้ ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่องเพียงระดับกอง หรือถ้าต่ำกว่ากรมให้ลงส่วนราชการเจ้าของเรื่อง พร้อมทั้งหมายเลข โทรศัพท์ (ถ้ามี)
ที่
(ลงรหัสตัวพยัญชนะ และตัวเลขประจำของเจ้าของเรื่อง / เลขทะเบียนหนังสือส่ง) ถ้าเป็นหนังสือของคณะกรรมการ กำหนดพยัญชนะเพิ่มขึ้นได้
วันที่
ตัวเลขวันที่ ชื่อเต็มของเดือน ตัวเลขปีพุทธศักราช
เรื่อง
ย่อใจความสั้นที่สุด ถ้าเป็นหนังสือต่อเนื่องให้ลงเรื่องของ หนังสือฉบับเดิม
คำขึ้นต้น
ตามฐานะผู้รับ
ข้อความ


หนังสือภายใน ๗


สาระสำคัญ ชัดเจน เข้าใจง่าย ถ้ามีความ ประสงค์หลายประการให้แยกเป็นข้อๆ และถ้ามีการอ้างถึง หรือ สิ่งที่ส่งมาด้วย ให้ระบุในข้อนี้
7. ลงชื่อและตำแหน่ง
หากกระทรวง ทบวง กรม หรือจังหวัดใด ต้องการ กำหนดแผนการเรียนโดยเฉพาะ ก็ทำได้

คือ หนังสือที่ใช้ประทับตราแทนการลงชื่อ ของหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม ขึ้นไป โดยมีหัวหน้าส่วนราชการระดับกอง หรือ ผู้ที่ได้รับมอบหมายจาก หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไป เป็นผู้รับผิดชอบลงชื่อย่อกำกับตรา
หนังสือประทับตราใช้ได้กับ
1. ส่วนราชการ กับ ส่วนราชการ
2. ส่วนราชการ กับ บุคคลภายนอก ใช้ได้เฉพาะกรณีไม่ใช่เรื่อง
สำคัญ ได้แก่
2.1 ขอรายละเอียดเพิ่มเติม
2.2 การส่งสำเนาหนังสือ สิ่งของ เอกสาร หรือ บรรณสาร
2.3 การตอบรับทราบที่ไม่เกี่ยวกับราชการสำคัญ หรือการเงิน
2.4 การแจ้งผลงานที่ได้ดำเนินการไปแล้ว ให้ส่วนราชการที่ เกี่ยวข้องทราบ
2.5 การเตือนเรื่องที่ค้าง
2.6 เรื่องซึ่ง หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไปกำหนด โดย ทำเป็นคำสั่ง (ให้ใช้หนังสือประทับตรา)

รายละเอียดของหนังสือประทับตรา
1. ที่

หนังสือประทับตรา ๘
2. ถึง
3. ข้อความ
4. ชื่อส่วนราชการที่ออกหนังสือ
5. ตราชื่อส่วนราชการ ประทับด้วยหมึกสีแดง และให้ผู้รับผิดชอบลง ชื่อย่อกำกับตรา
6. วัน เดือน ปี
7. ส่วนราชการเจ้าของเรื่อง
8. โทร , หรือที่ตั้ง (ถ้าไม่มีโทร , ให้ลงที่ตั้งส่วนราชการเจ้าของเรื่อง ลง ที่อยู่ตามความจำเป็น รวมทั้ง แขวง และไปรษณีย์ (ถ้ามี) ) และให้ ลงโทรสาร ต่อจากเบอร์โทร เหมือนหนังสือภายนอก
มี 3 ชนิดคือ คำสั่ง ระเบียบ ข้อบังคับ
o คำสั่ง คือ บรรดาข้อความที่ผู้บังคับบัญชาสั่งการ ให้ปฏิบัติโดยชอบ ด้วยกฎหมาย
o ระเบียบ คือ บรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ได้วางไว้ โดยจะอาศัย อำนาจของกฎหมาย หรือไม่ก็ได้
o ข้อบังคับ คือ บรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่กำหนดให้ใช้ โดยอาศัย อำนาจ กฎหมายที่บัญญัติให้

การลงรายละเอียดข้อ ของระเบียบหรือข้อบังคับ
1. ให้เรียงข้อความที่จะใช้เป็นระเบียบ หรือข้อบังคับ
2. ให้ข้อที่ 1 เป็นชื่อของระเบียบหรือข้อบังคับ
3. ให้ข้อที่ 2 เป็นวันใช้บังคับ กำหนดว่าให้ใช้บังคับตั้งแต่เมื่อใด


หนังสือสั่งการ ๙

1. ข้อสุดท้าย เป็นข้อผู้รักษา การณ์ ถ้าระเบียบหรือ ข้อบังคับใด มีมากข้อหรือหลายเรื่อง จะแบ่งเป็นหมวดก็ได้ โดย ให้ย้ายข้อผู้รักษาการไปเป็นข้อสุดท้ายก่อนจะขึ้นหมวด 1

มี 3 ชนิด ได้แก่ ประกาศ แถลงการณ์ และข่าว
o ประกาศ คือ บรรดาข้อความที่ทางราชการประกาศ หรือ ชี้แจง ให้ทราบ หรือ แนะแนวทางปฏิบัติ
o แถลงการณ์ คือ บรรดาข้อความที่ทางราชการแถลง เพื่อทำความ เข้าใจในกิจการของทางราชการ หรือ เหตุการณ์ หรือกรณีใดๆ ให้ ทราบชัดเจนโดยทั่วกัน
o ข่าว คือ บรรดาข้อความที่ทางราชการ เห็นสมควรเผยแพร่ให้ทราบ

คือหนังสือที่ทางราชการทำขึ้นนอกจากที่กล่าวมาแล้วข้างต้น หรือ หนังสือที่หน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการ หรือบุคคลภายนอกมีมาถึงส่วน ราชการและส่วนราชการรับไว้เป็นหลักฐานของทางราชการ
หนังสือที่เจ้าหน้าที่จัดทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ มี 4 ชนิด คือ 1. หนังสือรับรอง 2. รายงานการประชุม 3. บันทึก 4. หนังสืออื่น

หนังสือประชาสัมพันธ์

หนังสือที่เจ้าหน้าที่จัดทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ

หนังสือรับรอง ๑๐
คือ หนังสือที่ส่วนราชการกรอกให้ เพื่อรับรองแก่บุคคล นิติบุคคล หรือ หน่วยงาน เพื่อวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งอย่างใด ให้ปรากฏแก่บุคคลทั่วไปไม่ จำเพาะเจาะจง
รายละเอียดของหนังสือ
เลขที่ ลงได้ 2 รูปแบบ คือ
1. ให้ลงเลขที่ของหนังสือรับรองโดยเฉพาะเริ่มตั้งแต่ เลขที่ 1 เรียงเป็นลำดับไปจนถึงสิ้นปีปฏิทินทับเลขปี พุทธศักราชที่ออกหนังสือรับรอง
2. ลงเลขที่ของหนังสือทั่วไปตามแบบหนังสือภายนอก
ส่วนราชการเจ้าของหนังสือ ให้ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของหนังสือ และจะลงที่ตั้งด้วยก็ได้
ข้อความ ให้ลงข้อความขึ้นต้นว่า หนังสือฉบับนี้ให้ไว้เพื่อรับรองว่า แล้วต่อด้วยชื่อบุคคล นิติบุคคล หรือหน่วยงานที่ทาง ราชการรับรอง ในกรณีที่เป็นบุคคลให้พิมพ์ชื่อเต็ม โดยมี คำนำหน้านาม ชื่อ นามสกุล ตำแหน่งหน้าที่ และ สังกัดหน่วยงานที่ผู้นั้นทำงานอยู่ อย่างชัดเจน แล้วจึงลง ข้อความที่รับรอง
ให้ไว้ ณ วันที่ ลง ตัวเลขวันที่ ชื่อเต็มของเดือน ตัวเลขของปีศักราช ที่ออกหนังสือรับรอง
ลงชื่อ ให้ลงชื่อหัวหน้าส่วนราชการที่ออกหนังสือ หรือผู้ได้รับ มอบหมาย และให้พิมพ์ชื่อเต็มไว้ใต้ลายมือชื่อ
ตำแหน่ง ให้ลงตำแหน่งของผู้ลงลายมือชื่อ
รูปถ่ายและลายมือชื่อผู้ได้รับการรับรอง กรณีเป็นเรื่องสำคัญที่ออกให้
บุคคลให้ติดรูปถ่ายขนาด 4x6 เซนติเมตร หน้าตรงไม่สวมหมวก
ประทับตราชื่อส่วนราชการบนขอบล่างด้านขวาของรูป คาบลงบน ๑๑
แผ่นกระดาษ และให้ผู้นั้นลง ลายมือชื่อไว้ใต้รูปถ่าย พร้อมพิมพ์ชื่อ เต็ม
ไว้ใต้ลายมือชื่อ
คือ การบันทึกความคิดเห็นของผู้มาประชุม ผู้เข้าร่วมประชุม และมติ
ของที่ประชุมไว้เป็นหลักฐาน
รายละเอียดรายงานการประชุม
1. รายงานการประชุม (ชื่อคณะประชุม หรือ ชื่อการประชุม)
2. ครั้งที่
3. เมื่อ (วันที่ประชุม)
4. ณ (สถานที่)
5. ผู้มาประชุม
6. ผู้ไม่มาประชุม
7. ผู้เข้าร่วมประชุม (ชื่อ , ตำแหน่ง ผู้ที่ไม่ได้มีส่วนกับการประชุม แต่ เข้าร่วมประชุม)
8. เริ่มประชุมเวลา (ระวังจะโดนหลอกว่าเปิดประชุมเวลา)
9. ข้อความ (ข้อความที่ประชุม)
10. เลิกประชุมเวลา (เขาจะหลอกว่าปิดประชุมเวลา)
11. ผู้จดรายงานการประชุม (โดยปกติจะเป็น เลขานุการที่ประชุม)
ลักษณะของบันทึกได้แก่
1. ข้อความซึ่งผู้ใต้บังคับบัญชาเสนอต่อผู้บังคับบัญชา
2. ผู้บังคับบัญชาสั่งการแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา


รายงานการประชุม

บันทึก ๑๒

1. ข้อความที่เจ้าหน้าที่ หรือ หน่วยงานระดับต่ำกว่า ส่วนราชการระดับกรม ติดต่อกันในการปฏิบัติราชการ

บันทึกมี 5 ประเภท ได้แก่
1. บันทึกย่อเรื่อง
2. บันทึกรายงาน
3. บันทึกความเห็น
4. บันทึกติดต่อ
5. บันทึกสั่งการ
การบันทึกต่อเนื่อง ให้ผู้บันทึกระบุ http://www.คลังข้อสอบ.net/ขอแชร์ข้อสอบ

1. คำขึ้นต้น
2. ใจความที่บันทึก
3. ลงชื่อ
4. ลงวันที่ใต้ลายมือชื่อ
คือ 1. หนังสือหรือเอกสารอื่นใดที่เกิดขึ้นเนื่องจากการปฏิบัติงานของ เจ้าหน้าที่ เพื่อเป็นหลักฐานในทางราชการ ซึ่งรวมถึงภาพถ่าย ฟิล์ม แถบบันทึกเสียง แถบบันทึกภาพ และสื่อกลางบันทึกข้อมูล ด้วย ( แผ่นบันทึกข้อมูล , เทปแม่เหล็ก , จานแม่เหล็ก , แผ่นซีดี – อ่านอย่างเดียว , แผ่นดิจิตอลเอนกประสงค์ )
2. หนังสือของบุคคลภายนอกที่ยื่นต่อเจ้าหน้าที่ และ เจ้าหน้าที่ได้รับ เข้าทะเบียนรับหนังสือของทางราชการแล้ว เช่น โฉนด , แผนที่ , แบบ , แผนผัง , สัญญา , หลักฐานการสืบสวน และ สอบสวน , คำ ร้อง เป็นต้น
หนังสือที่ต้องปฏิบัติให้เร็วกว่าปกติ

หนังสืออื่น ๑๓
มี 3 ประเภท 1. ด่วน ที่สุด = ปฏิบัติหน้าที่ทันทีที่ได้รับ หนังสือ
2. ด่วนมาก = ปฏิบัติโดยเร็ว
3. ด่วน = ปฏิบัติเร็วกว่าปกติเท่าที่จะทำได้
วิธีระบุชั้นความเร็ว
1. ใช้ตัวอักษรสีแดง ขนาดไม่เล็กกว่าตัวพิมพ์โป้ง 32 พอยท์ ให้ เห็นเด่นชัด บนหนังสือและบนซอง
2. ถ้าต้องการให้ถึงผู้รับภายในกำหนดเวลา ให้ระบุคำว่า “ด่วน
ภายใน วัน เดือน ปี เวลา” บนหน้าซอง
การติดต่อราชการทำได้ 2 ทาง คือ 1. หนังสือราชการ 2. ระบบ สารบรรณอิเล็กทรอนิกส์
⇒ วิธีการส่งสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์
ผู้ส่งตรวจสอบผลการส่งทึกครั้ง
ให้ผู้รับแจ้งตอบรับ ( เพื่อยืนยันว่าได้รับหนังสือ )
ส่วนราชการผู้ส่งไม่ต้องทำเป็นหนังสือตามอีก ยกเว้นเป็น เรื่องสำคัญถึงทำเอกสารตามไป
⇒ วิธีการส่งข้อความทางเครื่องมือสื่อสาร
วิทยุโทรเลข , โทรพิมพ์ , โทรศัพท์ , วิทยุสื่อสาร , วิทยุกระจายเสียง , วิทยุโทรทัศน์
1. ให้ผู้รับปฏิบัติเช่นเดียวกับได้รับหนังสือ (กรณีจำเป็นต้อง
ยืนยันเป็นหนังสือ ให้ยืนยันตามไปทันที)
2. การส่งข้อความทางเครื่องมือสื่อสารซึ่งไม่มีหลักฐาน ให้ผู้ส่ง
และผู้รับ บันทึกข้อความไว้เป็นหลักฐาน
สำเนาหนังสือ
หนังสือที่จัดทำขึ้นต้องทำสำเนา 2 ชนิด คือ
1. สำเนาคู่ฉบับ (เหมือนตัวจริง มีลายมือชื่อ หรือ ลายมือชื่อ ๑๔
ย่อ และที่ขอบล่าง ด้านขวาของหนังสือมีรายชื่อผู้ร่าง ผู้ พิมพ์
และ ผู้ตรวจ ) เก็บไว้ที่ต้นเรื่อง 1 ฉบับ
2. สำเนา เก็บไว้ที่สารบรรณกลาง 1 ฉบับ
การรับรองสำเนาถูกต้อง ผู้มีสิทธิ์รับรองต้องเป็นข้าราชการตั้งแต่ระดับ 2 หรือเทียบเท่าขึ้นไป
การรับรองประกอบด้วย สำเนาถูกต้อง
ลายมือชื่อ
ลงชื่อตัวบรรจง
ตำแหน่ง http://www.คลังข้อสอบ.net/ขอแชร์ข้อสอบ

............
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
นักลบซามูไร
สมาชิกใหม่


เข้าร่วมเมื่อ: 04/03/2012
ตอบ: 29

ตอบตอบ: 04/03/2012 4:32 pm    ชื่อกระทู้: ข้อมูลส่วนนี้ถูกลบโดย นายธัชพงศ์ บุญบูรา ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ข้อมูลส่วนนี้ถูกลบโดย นายธัชพงศ์ บุญบูรา

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย นักลบซามูไร เมื่อ 10/06/2013 2:46 am, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
FFWD
สมาชิกใหม่


เข้าร่วมเมื่อ: 22/08/2011
ตอบ: 50

ตอบตอบ: 04/03/2012 8:36 pm    ชื่อกระทู้: Re: ข้อสอบวิชาระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คุณ pup ผมเห็นเขาโพสขายที่ 100 w นะ ใช้ชื่อว่านายอนุรักษ์ แก้วสองสี เบอร์โทร 0893013182 เบอร์น่าจะซื้อมาล๊อตเดียวกัน ภาพที่ใช้โพสชื่อ พ.ต.อ.ชญานิษฐ์ พิชิตศัตรู ดูแล้วเขาทำผิดประมวลกฎหมายอาญามาตรา 146 ครับ http://www.100watts.com/smf/index.php?PHPSESSID=b113a43dab60ef5bfcdade8a4b9dd44d&topic=83716.msg450554#msg450554 ตามลิ้งนี้ครับ ใครมีทะเบียนราษฐ์ตรวจสอบหน่อย ช่วยกันอย่าให้ลอยนวลครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
thailand2565
สมาชิกใหม่


เข้าร่วมเมื่อ: 20/10/2022
ตอบ: 4

ตอบตอบ: 20/10/2022 11:52 am    ชื่อกระทู้: นายชญานิษฐ์ พิชิตศัตรู เปลี่ยนชื่อเป็น นายกฤษณะ เข็มทอง ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    sobsuan.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> สอบตำรวจ ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group




เนติบัณฑิต | อาชีวะ | ภูผาหมอกเขาค้อ | เงินกู้ | สินเชื่อ

การสร้างหน้าเอกสาร: 0.14 วินาที