ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
พงส.อาชีพ(อิสานใต้) ผู้ทรงคุณวุฒิ


เข้าร่วมเมื่อ: 12/12/2007 ตอบ: 3748
|
ตอบ: 31/07/2009 6:06 am ชื่อกระทู้: กรณีการชันสูตรพลิกศพในที่ที่ศพอยู่ แก้จากในที่เกิดเหตุ เบิก |
|
|
ข้อ 1.
ระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยการจ่ายค่าตอบแทน หรือค่าป่วยการ ค่าพาหนะเดินทาง และค่าเช่าที่พักของแพทย์และเจ้าพนักงานผู้ได้ทำการชันสูตรพลิกศพ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 150 พ.ศ. 2543
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2543/E/095/10.PDF
โดยที่เป็นการสมควรให้มีระเบียบว่าด้วยการจ่ายค่าตอบแทน หรือค่าป่วยการ ค่าพาหนะเดินทาง และค่าเช่าที่พักของแพทย์และเจ้าพนักงานผู้ได้ทำการชันสูตรพลิกศพ อาศัยอำนาจตามความใน มาตรา 150 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2542 กระทรวงยุติธรรมโดยความเห็นชอบจากกระทรวงการคลังจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการจ่ายค่าตอบแทนหรือ ค่าป่วยการ ค่าพาหนะเดินทาง และค้าเช่าที่พักของแพทย์และเจ้าพนักงานผู้ทำการชันสูตรพลิกศพตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 150 พ.ศ. 2543
ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2542 มีผลบังคับใช้เป็นต้นไป
ข้อ 3 ให้หัวหน้าส่วนราชการต้นสังกัดของแพทย์และเจ้าพนักงานผู้ได้ทำการชันสูตร พลิกศพเป็นผู้มีอำนาจอนุมัติในการเบิกจ่ายค่าตอบแทน หรือค่าป่วยการ ค่าพาหนะเดินทาง และค่าเช่า ที่พักให้แก่แพทย์และเจ้าพนักงานผู้ได้ทำการชันสูตรพลิกศพเมื่อแพทย์และเจ้าพนักงานได้ปฏิบัติหน้าที่ เสร็จสิ้นในแต่ละครั้ง
ให้กระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้มีอำนาจอนุมัติในการเบิกจ่ายค่าตอบแทนหรือค่าป่วยการ ค่าพาหนะเดินทาง และค่าเช่าที่พักแก่แพทย์ประจำโรงพยาบาลของเอกชนหรือแพทย์ผู้ประกอบวิชาชีพ เวชกรรมที่ขึ้นทะเบียนเป็นแพทย์อาสาสมัครผู้ได้ทำการชันสูตรพลิกศพ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 150 เมื่อแพทย์ดังกล่าวได้ปฏิบัติหน้าที่เสร็จสิ้นในแต่ละครั้ง
การเบิกจ่ายค่าตอบแทน หรือค่าป่วยการ ค่าพาหนะเดินทาง และค่าเช่าที่พักให้แก่แพทย์และ เจ้าพนักงานผู้ได้ทำการชันสูตรพลิกศพ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดใน ข้อ 4 ถึง ข้อ 7 แล้วแต่กรณี
ข้อ 4 กรณีการชันสูตรพลิกศพในที่เกิดเหตุ ให้จ่ายค่าตอบแทน หรือค่าป่วยการ แก่แพทย์และเจ้าพนักงานผู้ได้ทำการชันสูตรพลิกศพในแต่ละครั้ง ไม่เกิน 800 บาทต่อคน
ข้อ 5 กรณีการชันสูตรพลิกศพที่โรงพยาบาล สถาบันนิติเวชวิทยา สถาบันอื่นที่ เกี่ยวข้อง หรือสถานที่ที่จัดเตรียมไว้สำหรับการนั้น
5.1 ค่าตอบแทน หรือค่าป่วยการที่จ่ายให้แก่แพทย์ผู้ทำการตรวจสภาพศพภายนอก ศพละไม่เกิน 500 บาท
5.2 ค่าตอบแทน หรือค่าป่วยการที่จ่ายให้แก่แพทย์ผู้ทำการผ่าพิสูจน์ภายในศพ ศพละไม่เกิน 1,000 บาท
5.3 ค่าตอบแทน หรือค่าป่วยการที่จ่ายให้แก่แพทย์ผู้ทำการผ่าตรวจภายในและ ตัดตรวจชิ้นเนื้อศพ ศพละไม่เกิน 2,000 บาท
ข้อ 6 ในกรณีที่การชันสูตรพลิกศพตาม ข้อ 4 หรือ ข้อ 5 ได้กระทำโดยแพทย์ทางนิติเวชศาสตร์ ให้จ่ายค่าตอบแทน หรือค่าป่วยการให้แก่แพทย์นั้นเพิ่มขึ้นจากค่าตอบแทน หรือค่าป่วยการ ตาม ข้อ 4 หรือ ข้อ 5 อีกกึ่งหนึ่ง
ข้อ 7 แพทย์ และเจ้าพนักงานผู้ได้ทำการชันสูตรพลิกศพมีสิทธิได้รับค่าพาหนะเดินทาง และค่าเช่าที่พักดังนี้
7.1 ผู้ที่เป็นข้าราชหรือลูกจ้างของทางราชการให้ใช้สิทธิเบิกจ่ายได้ตามกฎหมาย ว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ
7.2 แพทย์อาสาสมัคร ให้มีสิทธิในการเบิกจ่ายได้ตามกฎหมายว่าด้วยค่าใช้จ่าย ในการเดินทางไปราชการ โดยเทียบตำแหน่งแพทย์เทียบเท่าตำแหน่งข้าราชการพลเรือนระดับ 9
ข้อ 8 ให้ปลัดกระทรวงยุติธรรมรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจตีความวินิจฉัย ปัญหาเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบนี้
:: ประกาศ ณ วันที่ 13 กันยายน 2543 สุทัศน์ เงินหมื่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
ข้อ 2. จะเห็นได้ว่า ....ข้อ 4 ใช้คำว่า " กรณีการชันสูตรพลิกศพในที่เกิดเหตุ " จึงเป็นปัญหา ในการเบิกจ่ายค่าชันสูตรพลิกศพของ พนักงานสอบสวนว่า ต้อง" ในที่เกิดเหตุ" เท่านั้น
ถ้าชันสูตรที่ โรงพยาบาล ไม่ใช่ที่เกิดเหตุไม่ได้
ปัญหาน่าที่จะหมดไป......เนื่องจาก ระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการจ่ายค่าตอบแทน หรือค่าป่วยการ ค่าพาหนะเดินทาง และค่าเช่าที่พักของแพทย์และเจ้าพนักงานผู้ได้ทำการชันสูตรพลิกศพตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๕๐ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๒ .......ใช้คำว่า
ข้อ ๔ กรณีการชันสูตรพลิกศพในที่ที่ศพอยู่ ให้จ่ายค่าตอบแทน หรือค่าป่วยการแก่แพทย์ และเจ้าพนักงานผู้ได้ทำการชันสูตรพลิกศพในแต่ละครั้ง ไม่เกิน ๘๐๐ บาทต่อคน
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2552/E/106/1.PDF
ลิงก์ผู้สนับสนุน Sponsored Links
|
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
เทพธันเดอร์นครปฐม สุดยอดแฟนพันธุ์แท้


เข้าร่วมเมื่อ: 24/01/2008 ตอบ: 8120
|
ตอบ: 31/07/2009 7:54 am ชื่อกระทู้: |
|
|
เยี่ยม ขอบคุณมากครับท่านพี่ "พงส.(อาชีพ)อิสานใต้" ที่เคารพยิ่งของผม ข่าวดีรับอรุณวันนี้(๓๑ ก.ค.๕๒)
ขออนุญาตลิ้งระเบียบฯปี ๔๓ ให้ท่านพี่ข้างต้นด้วยแล้วนะครับผม |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
SoOthersMayLive ผู้ชำนาญการ


เข้าร่วมเมื่อ: 15/02/2008 ตอบ: 1119
|
ตอบ: 31/07/2009 8:16 am ชื่อกระทู้: Re: |
|
|
ขอบคุณครับ  |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
พงส.ผู้เฒ่า สมาชิก


เข้าร่วมเมื่อ: 21/07/2009 ตอบ: 162
|
ตอบ: 31/07/2009 12:11 pm ชื่อกระทู้: Re: |
|
|
น่าจะแก้ด้วยว่า แทนที่จะใช้คำว่า " แต่ละครั้ง " น่าจะเป็น " แต่ละศพ "
เพราะที่โรงพักผมเขาเบิกให้ครั้งละ 800 บาท ไม่ว่าจะมีกี่ศพ ที่อื่นก็คงเหมือนกัน
ทำให้ผมสงสัยอยู่ว่า ถ้าตายมาก ๆ แล้วก็ไปชันสูตรครั้งเดียวก็ได้แค่ 800 บาทหรือ ?
หรือว่าพิสูจน์หนึ่งศพก็คือหนึ่งครั้ง ช่วยอธิบายหรือตีความให้ผมด้วยนะครับ |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
thailand สมาชิก


เข้าร่วมเมื่อ: 20/07/2009 ตอบ: 172
|
ตอบ: 31/07/2009 12:16 pm ชื่อกระทู้: Re: |
|
|
ขอแสดงความเห็น
เรียน ท่าน เทพฯ และ พงสฯ อาชีพ ( อิสานใต้ ) ผมมองอย่างนี้
๑) เราทำอะไร ชันสูตรพลิกศพ หรือ สอบสวนคดีอาญา
๒) คำว่า " ชันสูตรพลิกศพในที่เกิดเหตุ " นั้น ผมยังเข้าใจว่า
กำลังพูด เรื่อง ชันสูตรพลิกศพ พบศพที่ไหน ถ้าศพอยู่ รพ. ก็เชื่อว่า เป็นสถานที่เกิดเหตุ ( เน้น ชันสูตรพลิกศพ ก็ไม่
น่า จะไปเกี่ยวกับ ที่เกิดเหตุ ในคดีอาญา
๓) ที่เห็นเป็นอย่างนี้ ก็เพราะ ระเบียบการจัดเงินนั้น เป็นเรื่อง ว่าด้วยการจ่ายค่าตอบแทน หรือค่าป่วยการ ค่าพาหนะเดินทาง และค่าเช่าที่พักของแพทย์และเจ้าพนักงานผู้ได้ทำการชันสูตรพลิกศพ
ไม่รู้เห็นอย่างไร หรือ ท่านใดมี หนังสือ ตร.ยืนยันว่า ชันสูตรพลิกศพในโรงพยาบาล เบิกไม่ได้ ก็ขออนุเคราะห์ด้วนครับ
ขอบคุณ  |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
fan สมาชิกใหม่

เข้าร่วมเมื่อ: 20/07/2009 ตอบ: 53
|
ตอบ: 01/08/2009 9:30 am ชื่อกระทู้: Re: |
|
|
การขอเบิกเงินตอบแทนชันสูตรพลิกศพ จะต้องทำสวนการชันสูตรพลิกศพหรือไม่ บางจังหวัดบอกว่าต้องมีสำนวน จึงจะจ่าย บางจังหวัดบอกว่าจ่ายได้เลยเมื่อทำการชันสูตรพลิกศพแล้ว จะเอาอย่างไรกันแน่ เหตุใดเงินที่จ่ายมาจากแหล่งเเดียวกัน จึงปฏิบัติไม่เหมือนกัน |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
สบ๔อีสาน ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ


เข้าร่วมเมื่อ: 24/02/2008 ตอบ: 5073
|
ตอบ: 02/08/2009 4:00 am ชื่อกระทู้: Re: |
|
|
โดยเจตนารมณ์แท้จริง การจ่ายเงินประเภทนี้
1.ต้องจ่ายรายศพ เช่น อุบัติเหตุจราจพลิกคว่ำ ตกเขา ตายเป็นเบือ สัก 20 ศพ ก็ต้องคูณเงินเข้าไปให้ครบ 20 ศพ ไม่ใช่รายครั้ง
2.การทำสำนวนหรือไม่ ไม่ใช่สาระสำคัญ เพราะ เขาถือว่า ชันสูตรพลิกศพแล้วก็ต้องได้สตางค์ สำนวนเป็นเรื่องการปฏิบัติภายในหน่วยงานนั้น การจ่ายเงินไม่ได้ผูกติดกับสำนวน แต่ผูกพันติดกับการปฏิบัติหน้าที่พลิกศพ ตรวจศพ
3.จนท.การเงิน มักมีปัญหา และตั้งข้อรังเกียจกับ พงสฯ เสียเป็นส่วนใหญ่ เพราะมองว่าอะไรเป็นเงินได้ล่ะก็ หากมี "น้ำมันหล่อลื่น" ทุกอย่างจะลื่นไหล ไม่มีปัญหา
4.ที่ใด สตง.เข้าตรวจแล้ว ระบุชัดว่า การเบิกจ่ายไม่ชอบ มีข้อมูล ขยายความหน่อยจะดี..เพราะ ระเบียบพวกนี้ ต้อง กระทรวงต้นสังกัด ที่เป็นต้นเรื่องในการออกระเบียบเท่านั้น จะรู้เจตนารมณ์ที่แท้จริง หน่วยอื่นมักตีความให้เกิดปัญหาและไปในทาง "ตัดสิทธิ์" เสียเป็นส่วนใหญ่ ทำนอง "เนื้อไม่ได้กิน หนังไม่ได้รองนั่ง กลับเอากระดูกแขวนคอ" เข้าไปนั่น
5.ทำนองเดียวกันกับ เงินตอบแทนเข้าร่วมสอบสวนเด็กเยาวชนของ สหวิชาชีพ แรกๆ ก็จ่ายนักจิตฯ นักสังคมฯ รายละ 500 บาท เรียงรายเคสรายคดี หาก วันหนึ่ง พงสฯ นักสอบ 5 ราย ก็คูณเข้าไป แรกๆ ก็เบิกได้ แต่มาหลัง บังคับให้เขา รับได้แค่ 500 บาท ต่อวัน อย่างงี้ ไม่ต้องด้วยเจตนารมณ์การจ่ายแล้ว
6.ถามต่อว่า วันนี้นัดสหวิชาชีพสอบ 1 ราย 1 คดี สภ.เมือง จ่ายเท่าไร ก็ 500 บาท ใช่ใหม หมดแล้ว วันรุ่งขึ้นนัดอีก 1 ราย ก็จ่ายอีก 500 บาท ใช่ใหม ทำไมจ่ายได้...แต่หาก วันนี้ นัดเช้า 1 ราย จ่ายไปแล้ว 500 บาท พอตกบ่ายแก่ๆ มี สภ.ชุมแพ มาสอบร่วมอีก 1 ราย เป็นนักจิตคนเดิม รับไปแล้วเมื่อเช้า แต่ นักสังคมฯ เป็นคนใหม่มา (คนเมื่อเช้าป่วยหนักเข้า รพ.ขอนแก่น มาไม่ได้) อย่างนี้ จะต้องจ่าย 500 บาท ให้กับ นักสังคมฯ ที่เข้าร่วมสอบคดีหลังหรือไม่ ถ้าตอบว่า ต้องจ่ายให้ แต่สำหรับ นักจิตฯ คนเมื่อเช้า มาแล้ว รับแล้วคือคดีเมื่อเช้า ฉะนั้น คดีตอนบ่ายรับไม่ได้ อัยการฯ ก็เป็นคนเดียวกันทั้งเช้าทั้งบ่าย ก็รับไม่ได้ อย่างนี้ ถูกต้องหรือไม่
7.ยกตัวอย่าง กรณีเครื่องบินตก หรือ ภัยพิบัติธรรมชาติ หายนะครั้งใหญ่ ดินถล่ม โรงแรมถล่ม (แบบโคราช) ซึนามิภาคใต้ ตายหลายร้อย หรือ เป็นพัน การชันสูตรเหตุหรือคดีนี้ จะจ่ายแค่ครั้งเดียว 800 บาท หรืออัตราอื่นๆ ให้ ผู้ทำหน้าที่ชันสูตรพลิกศพผู้มีสิทธิ แค่ 800, 1000 หรือ 1500 บาท แล้วจบเท่านั้นหรือ หากตอบว่าไม่ใช่ ต้องจ่ายรายศพแล้ว ก็ต้องหาเหตุผลว่า ทำไม รถชนคดีเดียว ตาย 3 ศพ แต่ให้ พงสฯ แค่ 800 บาท คือ ศพเดียว....คุณหญิงหมอคนดังไป ชันสูตรพลิกศพเหตุซึนามิ รายได้ตรงนี้ มหึมาเลยทีเดียว คุณคิดหาเหตุผลในการจ่ายให้หน่อยว่าจ่ายตามระเบียบอะไร มี กม.พิเศษ ระบุให้จ่ายเพิ่มเติมนอกเหนือระเบียบฯ ที่ใช้กับ พงสฯ ปัจจุบันหรือไม่
8.กรณีชันสูตรพลิกศพ "ในที่เกิดเหตุจริง" กับ "ในที่ศพตั้งอยู่" ก็ดี ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องเดียวกัน มันเป็นการตีความของผู้จ่ายให้เกิดปัญหากับผู้ปฏิบัติที่จะได้เงินเท่านั้น...แต่เจตนารมณ์เขาต้องการจ่ายให้กับ "ผู้ปฏิบัติการชันสูตรพลิกศพ" จริง เนื่องจาก เป็นงานเสียสละ เสี่ยงติดโรค เสี่ยงต่อการถูกผีหลอก ฝันร้ายอะไรทำนองนั้น... เขาไม่ต้องการให้ถือสาระในสถานที่ในการปฏิบัติงานมาเป็นเงื่อนไขในการจ่ายหรอก กม.อาจเขียนไม่ชัดแต่ให้คำนึงเจตนารมณ์มากกว่าอย่างอื่น แม้ลายลักษณ์อักษรจะถกเถียงกัน จนต้องแก้ใหม่ในปีนี้ ก็เพราะตีความไม่แตกฉานในการตีความให้ต้องเจตนารมณ์...ตัวอย่าง มีศพตายอยู่บนเขา หรือ เหวลึก ยังไง พงสฯ ก็กับ แพทย์และอัยการฯ ก็ไปไม่ได้แน่ๆ แต่ชาวเขา และผู้นำท้องถิ่นห่างไกล พากันเอาศพ มาตั้งไว้ที่ ภาควิชานิติเวชฯ แล้ว ก็มี พงสฯ แพทย์ มาชันสูตรพลิกศพ ถามว่า ตามระเบียบเก่า จะจ่ายให้ได้หรือไม่ ก็ต้องตอบว่า "ต้องจ่าย" เพราะเขามาปฏิบัติหน้าที่ชันสูตรพลิกศพแล้ว จะบอกว่า อ้าวพวกคุณไม่ได้ไป ชันสูตรฯ ยัง "ที่เกิดเหตุ" ไม่มีสิทธินั้น มันเป็นข้อจำกัดสิทธิไม่ให้เบิกหรือ
9.เข้าใจว่า การออกระเบียบฉบับแรก เขาก็มุ่งหมายให้จ่ายกับผู้ทำหน้าที่ที่ไปปฏิบัติการจริงนั่นแหละ แต่เขาเชื่อว่าต้องพากันไปยังที่เกิดเหตุ่ที่พบศพครั้งแรกจริงๆ ซึ่งตาม ระเบียบและการปฏิบัติก็ต้องเป็นอย่างนั้น เพราะมีบางกรณีก็เคลื่อนย้ายศพก่อน ชันสูตรพลิกศพจริงได้ เช่น อยู่หุบเหว อยู่ก้นทะเล จะให้แพทย์ พงสฯ พร้อมใจกันดำน้ำลงไป พลิกกันก้นบึ้งทะเล กันจึงจะจ่ายใช่ไหม ก็ต้องตอบว่า "ไม่ใช่" ต้องเอาขึ้นมาชายฝั่งหรือ เคลื่อนย้ายไปที่ภาควิชานิติเวช มอ.สงขลา เช่นนี้ เป็นต้น....ก็ดีครับที่แก้ ปี 52 ให้มันชัดเจน แต่แม้ไม่แก้ ก็ต้องสู้เอาให้ได้จากระเบียบเก่าฯ ตามตัวอย่างข้างต้น |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
fan สมาชิกใหม่

เข้าร่วมเมื่อ: 20/07/2009 ตอบ: 53
|
ตอบ: 02/08/2009 8:14 am ชื่อกระทู้: Re: |
|
|
สุดยอด ท่านสบ๔อีสาน ที่สงสัยและคาใจก็คงหมดไป แต่จะได้หรือไม่เงินตอบแทนก็คงแล้วแต่เวรแต่กรรม เพราะผู้มีหน้าที่เบิกจ่ายจังหวัดที่มีปัญหาเขาไม่ยอมฟังเหตุผลของพวกเราเลย |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
พงส.๗๐๐๐-๑ กูรู


เข้าร่วมเมื่อ: 25/09/2011 ตอบ: 629
|
ตอบ: 20/08/2012 5:32 pm ชื่อกระทู้: Re: |
|
|
ที่....สภ.ผม....ในภ.๕ หากไม่มีรายเซนต์เจ้าหน้าที่ในสำนักงานอัยการรับสำนวนชันสูตร(ต้องทำสำนวนด้วย ไม่เบิกให้ อ้างว่า จเรตำรวจ มาตรวจราชการสั่งไว้............ผมถาม โรงพักใหญ่ในเมืองเชียงใหม่ เชียงราย ไม่ต้องทำสำนวน(การทำสำนวนคนละเรื่อง.....ก้อมีที่ทำสำนวน...) เพราะเบิกค่าชันสูตร ไม่ได้เบิกค่าตอบแทนการทำสำนวน.....เพียงแต่มีการบง ปจว. และใบชันสูตรของแพทย์ ประกอบก้อทำเบิกได้แล้ว.....
อย่างงี้ อยากทราบว่าจะทำอย่างไรให้เบิกได้............โดยไม่ต้องแนบหนังสือส่งสำนวนให้อัยการ...ครับ....อยากรู้ในระเบียบ ตร.ในส่วนนี้เขียนอย่างไร.... |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
|
|
|