ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
จันท์กระพ้อ บุคคลทั่วไป

|
ตอบ: 27/01/2009 1:08 pm ชื่อกระทู้: การแบ่งท้องที่สอบสวน |
|
|
เรียนถามท่านเทพฯ และผู้รู้ทั้งหลาย
1.สมมติ สภ.ก.และ สภ.ข.มีอำนาจสอบสวนมาก่อนทั้งสองแห่ง แต่ต่อมา มีการแบ่งพื้นที่ของ สภ.ก.ไปให้ สภ.ข.บางส่วน อยากทราบว่า สำนวนการสอบสวนที่ พงส.สภ.ก.เคยรับไว้ ซึ่งเป็นสำนวนที่คดีเกิดในพื้นที่ สภ.ก.ก่อนมีการแบ่งพื้นที่ แต่เมื่อแบ่งพื้นที่แล้ว พื้นที่ดังกล่าวจะไปอยู่ในเขตอำนาจการสอบสวนของสภ.ข.ดังนั้น สำนวนที่ พงส.สภ.ก.เคยรับไว้ และยังทำไม่เสร็จ จะต้องส่งไปให้พนักงานสอบสวน สภ.ข.ดำเนินการต่อไปหรือไม่ โดยอาศัยกฎหมาย หรือระเบียบใด ถ้ามีกฎระเบียบใดขอด้วยครับ
2. กรณีตาม 1.ถ้า สภ.ข ไม่มีอำนาจการสอบสวนมาก่อน แต่ต่อมา มีอำนาจการสอบสวน คำตอบจะเหมือนกับข้อ 1 หรือไม่
ลิงก์ผู้สนับสนุน Sponsored Links
|
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
เทพธันเดอร์นครปฐม สุดยอดแฟนพันธุ์แท้


เข้าร่วมเมื่อ: 24/01/2008 ตอบ: 8190
|
ตอบ: 27/01/2009 2:40 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
เคยตอบไปครั้งหนึ่งแล้ว เพราะผมเคยประสบเหตุเช่นนั้นมาแล้ว
เดิม ทางหลวง มีเขตอำนาจสอบสวนคดีจราจรบนถนนปิ่นเกล้า ถนนเพชรเกษม ต่อมาท่านประชา พรหมนอก อดีต ผบ.ตร.สั่งให้โอนไปเป็นของตำรวจภูธรท้องที่ ปกติสำนวนใดที่อยู่ระหว่างสอบสวน(สอบสวนไม่เสร็จ)ของทางหลวง ต้องโอนมาให้ตำรวจภูธรทำ เพราะไม่มีอำนาจทำแล้ว นอกจากนี้สำนวนเก่าของทางหลวงที่ส่งอัยการไปแล้ว ต่อมาจับ ผตห.ได้ตามหมายจับ ตำรวจภูธรท้องที่ต้องทำ ตำรวจทางหลวงไม่มีอำนาจไปทำแล้ว ฉันใดก็ฉันนั้น
สำนวนที่ สภ. ก.ทำไม่เสร็จ เฉพาะพื้นที่ที่ถูกแบ่งไปให้ สภ. ข. ต้องส่งให้ สภ.ข.ทำ เพราะ สภ.ก.ไม่มีอำนาจสอบสวนในพื้นทื่นั้นแล้ว
สภ.ข.จะมีอำนาจสอบสวนมาก่อนหรือไม่ ไม่ใช่ประเด็นต้องนำมาคิด ประเด็นที่ต้องนำมาคิดคือ พื้นที่นั้นขณะนั้นใครมีอำนาจสอบสวนต่างหาก
|
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
จันท์กระพ้อ บุคคลทั่วไป

|
ตอบ: 27/01/2009 7:33 pm ชื่อกระทู้: Re: |
|
|
กรณีที่ท่านเทพฯ ว่า ตำรวจทางหลวงไม่มีอำนาจสอบสวนแล้ว แต่กรณีตามปัญหา สภ.ก.ยังมีอำนาจสอบสวนอยู่ครับ
|
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
พงส์ กูรู


เข้าร่วมเมื่อ: 19/07/2007 ตอบ: 916
|
ตอบ: 27/01/2009 7:55 pm ชื่อกระทู้: Re: |
|
|
เรื่อง ซักซ้อมการปฏิบัติเกี่ยวกับอำนาจการสอบสวนของ สภ.ต.ตั้งใหม่ หนังสือ ตร ที่ 610.04 / 11921 ลงวันที่ 3 ธันวาคม 2530 สรุปใจความสำคัญว่า เมื่อจัดตั้ง สภ.ต.ขึ้นใหม่โดยแยกพื้นที่รับผิดชอบออกจากเขต สภ.อ.แล้ว พงส.ฯสภ.อ.ย่อมไม่มีอำนาจที่จะสอบสวนคดีที่ยังไม่เสร็จให้เสร็จสิ้นต่อไปได้ จึงต้องมอบสำนวนให้ สภ.ต.ที่ตั้งใหม่ทำการสอบสวนต่อไป
|
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
จันท์กระพ้อ บุคคลทั่วไป

|
ตอบ: 27/01/2009 8:01 pm ชื่อกระทู้: Re: |
|
|
ท่านพงส์มีหนังสือฉบับนั้นหรือไม่ ช่วยลงให้หน่อยนะครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับผม เพราะตอนนี้ สภ.ก.และ สภ.ข เกี่ยงกันอยู่ จึงต้องใช้เอกสารอ้างอิง
|
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
พงส์ กูรู


เข้าร่วมเมื่อ: 19/07/2007 ตอบ: 916
|
ตอบ: 27/01/2009 8:43 pm ชื่อกระทู้: Re: |
|
|
ขออภัยด้วย ฉบับเต็มไม่มีครับ ที่ลงให้ดูเป็นฉบับย่อที่ผมบันทึกไว้ใช้งานนานมาแล้ว ถ้าจะหาต้นฉบับ ต้องเช็คจากเลขหนังสือละครับว่า หน่วยไหนเป็นคนออก แต่ผู้ลงนามตามหนังสือฉบับนี้คือ พล.ต.อ.แสวงฯอ.ตร.
ในสภ.ของท่านเอง ถ้าแผนกธุรการคดี เก็บหนังสือเป็นระบบน่าจะค้นเจอนะครับ
|
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
บุคคลทั่วไป

|
ตอบ: 28/01/2009 10:53 am ชื่อกระทู้: Re: |
|
|
คิดง่ายๆ พงส. ตาม ป.วิอาญามาตรา ๒นั้น คือบุคคลต้องมีอำนาจและหน้าที่สอบสวน และสอบสวนคือรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อนำตัวผู้กระทำความผิดมาฟ้องลงโทษ ดังนั้นผู้ที่ทำการสอบสวนได้ต้องมีกฏหมายบัญญัติให้มีอำนาจหน้าที่สอบสวน อำนาจและหน้าที่เป็นไปตาม ป.วิอาญามาตรา ๑๖ คือเป็นไปตามบทบัญญัติของกฏหมาย และข้อบังคับฯ จะเห็นได้ว่าอำนาจจะมีระบุไว้ตาม มาตรา ๑๘,๑๙,๒๐ และข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยระบุเกี่ยวกับหน้าที่ของฝ่ายปกครองไว้ ต่างจังหวัดให้ตำรวจสอบสวนเว้นแต่ข้อ ๑๒ หรือที่ข้อบังคับกำหนดกฏหมายบางกฏหมายเช่น ทะเบียนราษฏรเป็นต้น ส่วนตร.ก็มีคำสั่งกำหนดหน้าที่ไว้คือคำสั่งตร.กำหนดหน้าที่ของบุคคล เดิมใน สภ.เป็นคำสั่ง ๗๗๔ ต่อมาถูกยกเลิกโดยคำสั่ง ๖๕๖และ๖๕๕ ซึ่งจะกำหนดให้ใครสอบสวน และมีคำสั่ง ๕๗๒กำหนดให้นายตำรวจผู้ใหญ่เข้าทำการสอบสวน จะเห็นได้ว่าใน สภ.เดียวกัน หากไม่ใช่ พงส.ก็ไม่สามารถสอบสวนได้ ซึ่งสอบสวนนี้ตามบทนิยาม รวบรวมพยานหลักฐานฯ รวมตลอดจนการเปรียบเทียบปรับ การนำเอกสารมาประกอบสำนวน ไม่ใช่เฉพาะสอบคำให้การอย่างเดียว เมื่อยังสอบสวนไม่เสร็จสิ้น มีคำสั่งใดๆ ที่ให้ใครมอบสอบสวน คนเดิมก็หมดหน้าที่ ก็ต้องมอบให้คนใหม่สอบสวน เช่นเดียวกัน กรณีมีการกำหนดพื้นที่รับผิดชอบใหม่ว่าให้ใครสอบสวน เช่น สภ.อ.เมืองชลบรี แยก สภ.ใหม่ สำนวนที่ สภ.อ.เมืองรับไว้ เมื่อสอบสวนไม่เสร็จก็ต้องส่งให้ท้องที่ใหม่สอบสวนต่อไป หากคนเก่าทำไป ก็คงต้องกลับไปดูบทนิยามว่าไม่มีหน้าที่แล้ว สอบสวนจะชอบหรือไม่ เว้นแต่การส่งประเด็นตาม ป.วิอาญา มาตรา ๑๒๘ เมื่อยังไม่ส่งสำนวนการรวบรวมพยานหลักฐานก็ต้องให้คนที่มีหน้าที่ทำต่อ และเมื่อเสร็จแล้วก็ต้องให้พนักงานสอบสวนรับผิดชอบสรุปสำนวนมีความเห็นตาม ป.วิอาญา มาตรา ๑๔๐-๑๔๓ พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ตาม ป.วิอาญามาตรา ๑๘ วรรคท้ายคือหัวหน้าท้องที่พนักงานสอบสวนนั้นๆ ส่วนกรณีที่รับไว้สำนวนท้องที่เดิมก็ระบุในสารบบว่าโอนไปยังท้องที่ใหม่ตามหนังสือที่เท่าใด ท้องที่ใหม่ก็ต้องลงสารบบที่รับมาใหม่ เช่นเดียวกันกับกรณีกองปราบรับไปทำ, หรือ ดีเอสไอรับไปทำกรณีมีมติว่าเป็นคดีพิเศษ ท้องที่รับไว้ก็จำหน่ายไป คนใหม่จะได้ทำรู้สึกว่าจะมีกรณีท้องที่ สภ.บางแสน กรณีที่ ตร.รับไปทำ แต่อำเภอทำต่อ อัยการแจ้งว่าคนเก่าหมดหน้าที่ ทำต่อไปไม่ชอบ กรณีกำนันเปาะ ลองไปหาความเห็นนี้ดู หรือให้ท่านเทพฯช่วยตรวจสอบให้หน่อย คงฝากน้องๆว่า เมื่อเราหมดหน้าที่ ไม่ว่ามีท้องที่ใหม่รับผิดชอบ ,โยกย้ายแล้ว รีบมอบสำนวน การทำเกินหน้าที่เขาไม่ได้ว่าเก่ง หากเกิดปัญหาขึ้น บกพร่อง ผู้เขาตรวจสอบจะมองว่าทำเพื่ออะไร มีเหตุทุจริตหรือไม่ อย่าทำในสิ่งที่เราไม่มีอำนาจหน้าที่ เขาไม่บอกว่าเก่งหรอก จะมองแง่ร้าย เมื่อหมดหน้าที่รีบมอบให้เขาไป เห็นพวกที่โยกย้าย,หรือไปอบรม มักชอบเก็บไว้จัง รอกรรมการหรือเปล่าไม่ทราบ
|
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
สุรอ็อดภูมิใจ สมาชิกใหม่

เข้าร่วมเมื่อ: 06/12/2007 ตอบ: 14
|
ตอบ: 28/01/2009 11:11 am ชื่อกระทู้: Re: |
|
|
ให้ท่านไปดูหนังสือ ตร.ที่ 0031.212/4733 ลง 17 ต.ค. 50 เรื่องการสอบสวนคดีอาญาของ สภ.ต.ที่มีการปรับระดับตำแหน่ง หน.สถานีใหม่เป็น สว. ข้อ 3.ให้ สภ.อ. หรือ สภ.กิ่ง อ. ส่งมอบสำนวนการสอบสวนซึ่งความผิดได้เกิด เชื่อว่า หรืออ้างว่าได้เกิดขึ้นในเขตพื้นที่ของ สภ.ต.ที่มีการปรับระดับ หน.สถานีใหม่ และยังสอบสวนไม่เสร็จสิ้น ไปให้ สภ.ต.ที่มีการระดับ หน.สถานีใหม่โดยเร็วที่สุดฯลฯ เทียบเคียงได้
|
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
เทพธันเดอร์นครปฐม สุดยอดแฟนพันธุ์แท้


เข้าร่วมเมื่อ: 24/01/2008 ตอบ: 8190
|
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
เทพธันเดอร์นครปฐม สุดยอดแฟนพันธุ์แท้


เข้าร่วมเมื่อ: 24/01/2008 ตอบ: 8190
|
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
|
|
|