Facebook Page สอบสวน 599 Twitter สอบสวน 599 Youtube สอบสวน 599 facebook group สอบสวน 599 เพิ่มเพื่อน

sobsuan.com :: ดูกระทู้ - ฎีกาเกี่ยวกับผู้ว่าราชการเข้าควบคุมคดีอาญา
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ฎีกาเกี่ยวกับผู้ว่าราชการเข้าควบคุมคดีอาญา
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    sobsuan.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> คำพิพากษา
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
วิธีคิด
ผู้ชำนาญการ
ผู้ชำนาญการ


เข้าร่วมเมื่อ: 10/05/2008
ตอบ: 1565

ตอบตอบ: 03/01/2022 1:18 pm    ชื่อกระทู้: ฎีกาเกี่ยวกับผู้ว่าราชการเข้าควบคุมคดีอาญา ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

...ขอวิทยาทานจากผู้รู้ด้วยครับ - ผมค้นหาฎีกาเกี่ยวกับผู้ว่าราชการเข้าควบคุมคดีอาญาไม่เจอเลย ใครพอจะมีฎีกาแนวนี้บ้างครับ เกี่ยวกับการตัดอำนาจทำความเห็นทางคดีตาม ป.วิ อาญา ม.๑๔๐ นะครับ...ขอบคุณครับ...

ลิงก์ผู้สนับสนุน Sponsored Links
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
เทพธันเดอร์
สมาชิกใหม่


เข้าร่วมเมื่อ: 21/12/2021
ตอบ: 8

ตอบตอบ: 03/01/2022 6:06 pm    ชื่อกระทู้: ฎีกาเกี่ยวกับผู้ว่าราชการเข้าควบคุมคดีอาญา ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

กฤษฎีกา เสร็จที่ 216/2559
http://web.krisdika.go.th/data/news/news11952.pdf
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
วิธีคิด
ผู้ชำนาญการ
ผู้ชำนาญการ


เข้าร่วมเมื่อ: 10/05/2008
ตอบ: 1565

ตอบตอบ: 03/01/2022 8:29 pm    ชื่อกระทู้: ฎีกาเกี่ยวกับผู้ว่าราชการเข้าควบคุมคดีอาญา ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

...เรียนถามพี่เทพฯ ...

...ข้อความที่ว่า "ในการจํากัดอํานาจสอบสวนในคดีความผิด
อาญาในจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานครของฝ่ายปกครองไว้เพียง ๑๖ ประเภท" นั้น แต่กรณีมีการร้องเรียนของความเป็นธรรมไปยังผู้ว่าฯ ในคดีอาญา (ตาม ป.อาญา) ที่เจ้าพนักงานตำรวจตกเป็นผู้ต้องหา และขอให้ผู้ว่าฯ เข้าควบคุมการสอบสวน และผู้ว่าฯ เห็นว่ามีความจำเป็นจึงได้ทำหนังสือแจ้งเข้าควบคุมโดยอ้างว่าเป็นพนักงานสอบสวนตาม ป.วิ อาญา ม.๑๘ ว.ท้ายโดยอาศัยข้อบังคับกระทรวงมหาดไทย พ.ศ.๒๕๒๓ ข้อ ๑๒.๔ และเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตาม ม.๑๔๐ และเคสอย่างนี้เกิดขึ้นโดยที่พนักงานสอบสวนฝ่ายตำรวจ ได้สรุปสำนวนการสอบสวนส่งพนักงานอัยการโดยไม่มีการรายงานไป ตร.เพื่อมีคำสั่งก่อน...

...ตามหนังสือ เรื่องเสร็จที่ ๒๑๖/๒๕๕๙ นี้พอจะตีความไปได้ไหมว่า ผู้ว่าก็ไม่มีอำนาจสอบสวนเพราะอำนาจสอบสวนถูกจำกัดไว้เฉพาะเพียง ๑๖ ประเภทดังกล่าว หนังสือการเข้าควบคุมการสอบสวนจึงไม่อาจอ้างได้โดยชอบด้วยกฎหมาย แม้ผู้่ว่าฯ จะไม่ได้ลงชื่อท้ายรายงานการสอบสวนในสำนวนส่งไปยังพนักงานอัยการ การสอบสวนก็ชอบแล้ว หรือเปล่าครับ...

...แต่ความเห็นของผม อำนาจสอบสวนตาม ป.วิ อาญา ม.๑๘ วรรคแรก ก็ยังให้อำนาจการสอบสวนฝ่ายปกครอง ตามหนังสือ เรื่องเสร็จที่ ๒๑๖/๒๕๕๙ น่าจะเป็นการขยายความที่ให้จำกัดอำนาจของฝ่ายปกครองไม่ให้กว้างเกินไป ประมาณนั้นนะครับ...

...การที่ผู้ว่าฯ ในจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพฯ ใช้อำนาจเข้าควบคุมในคดีอาญาในความผิดตาม ป.อาญา ผู้ว่าฯ ก็น่าจะเป็นพนักงานสอบสวนตาม ม.๑๘ ว.ท้าย และเป็นผู้รับผิดชอบตาม ม.๑๔๐ การที่ไม่ได้ลงชื่อสรุปสำนวนการสอบสวน การสอบสวนอาจไม่ชอบด้วย ป.วิ อาญา ม.๑๒๐ พนักงานอัยการจึงไม่มีอำนาจฟ้อง...

...ขอความเห็นด้วยครับ...

................................................................
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
วิธีคิด
ผู้ชำนาญการ
ผู้ชำนาญการ


เข้าร่วมเมื่อ: 10/05/2008
ตอบ: 1565

ตอบตอบ: 03/01/2022 9:00 pm    ชื่อกระทู้: ฎีกาเกี่ยวกับผู้ว่าราชการเข้าควบคุมคดีอาญา ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

...เพิ่มเติม...

...ผู้ว่าอ้างอาศัยอำนาจ "ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๙๖/๒๕๕๗
เรื่อง การจัดตั้งศูนย์ดํารงธรรม ข้อ ๕ " บวกกับข้อบังคับกระทรวงมหาดไทย พ.ศ.๒๕๒๓ พ่วงมาด้วย...

...https://www.dol.go.th/dol_complain/DocLib1/korsorcho%2096-2557.PDF...

................................................................................................
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
พงส์๒๕๕๓
ผู้ชำนาญการ
ผู้ชำนาญการ


เข้าร่วมเมื่อ: 09/12/2010
ตอบ: 1514

ตอบตอบ: 11/01/2022 9:37 pm    ชื่อกระทู้: ฎีกาเกี่ยวกับผู้ว่าราชการเข้าควบคุมคดีอาญา ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ฝ่ายปกครองและตำรวจ ต่างก็มีอำนาจสอบสวนตาม ปวิอ 18
แต่การเป็น พงส ตาม ปวิอาญา หมายถึงเป็นเจ้าพนักงานที่กฎหมายให้มีอำนาจและหน้าที่ ทำการสอบสวน ( โปรดดูคำนิยาม ) พงส คือ ใคร?

ฉะนั้น การเป็น พงส จะต้องมีกฎหมายให้อำนาจสอบสวน และ กฎหมาย ให้หน้าที่สอบสวนด้วยพร้อมกันสองประการ
ซึ่งประเด็นนี้ มี ปวิอ 16 ซึ่งมาก่อนมาตรา 18 วางหลักไว้แล้วว่า การใช้อำนาจสอบสวนของ ฝ่ายปกครองและตำรวจ ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ เกี่ยวกับการกำหนดอำนาจหน้าที่ของฝ่ายปกครองและตำรวจนั้นด้วย

กฎหมายที่กำหนดอำนาจหน้าที่ของฝ่ายปกครองและตำรวจ โดยเฉพาะ ในส่วนของหน้าที่ ได้แก่กฎหมาย การตั้งองค์กรฝ่ายปกครอง เช่น พรบ การตั้งกระทรวง ทบวง กรม 2475 และที่แก้ไขเพิ่มเติมต่อๆมาอีกหลายฉบับ เช่น พรบ แก้ไขเพิ่มเติม การตั้งกระทรวงทบวงกรม มาประกอบ กฎกระทรวงจัดตั้งองค์กรฝ่ายปกครองระดับกรม เช่น กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักปลัดมหาดไทย ต้นสังกัดของ ผวจ / กฎกระทรวงแบางส่วนราชการกรมการปกครอง ต้นสังกัดของ ปลัดจังหวัด นายอำเภอ ปลัดอำเภอ กฎหมายลำดับรองเหล่านี้ หาดูได้จากประกาศราชกิจจานุเบกษา ลงในเนื้อหารายละเอียดเกี่ยวกับหน้าที่จะพบว่า กฎกระทรวงเหล่านี้ ไม่ได้ให้หน้าที่สอบสวนแก่ฝ่ายปกครองแต่อย่างใด แตกต่างจาก ตำรวจ ที่ พรบ ตำรวจ อันเป็นกฎหมายกำหนดหน้าที่ ของตำรวจ ตามนัย มาตรา 16 แห่ง ปวิอ ให้ตำรวจมีหน้าที่ ตาม ปวิอาญา นั่นคือให้ตำรวจมีหน้าที่สอบสวนตาม ปวิอ

ทั้งนี้ มีกฎหมายสำคัญในการกำหนดอำนาจหน้าที่ทำสำนวนการสอบสวนของฝ่ายปกครอฃและตำรวจไว้อย่างชัดเจน ได้แก่ มาตรา 5 พรบ ให้ใช้วิอ แก้ไข 2548 ให้ สร 1 / มท 1 มีอำนาจออกกฎกระทรวง เพื่อวางระเบียบการงานตามหน้าที่ ให้การดำเนินคดีอาญาเป็ยไปโดยเรียบร้อย ทั้งนี้ในส่วนที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของตน ฉะนั้น เมื่อ สร1 และ มท 1 ลงนามร่วมกัน ออกกฎกระทรวง กำหนดคดีอาญา 16 ประเภท ให้เป็นอำนาจของฝ่ายปกครอง ส่วนคดีอื่นๆ มีหมายเหตุท้ายกฑกระทรวง วางเจตนารมณ์ให้ตำรวจรับผิดชอบทำสำนวน( โปรดดูหมายเหตุท้ายกฎกระทรวงทั้ง2 ฉบับ)

ในการนี้ กฤษฎีกา 216 ก็ได้ตอบข้อหารือ ไว้ชัดเจนสรุปว่า ฝ่ายปกครองจะเข้าคุมการสอบสวนได้แต่เฉพาะคดี 16 ประเภท เท่านั้น คดีอื่นนอกจากนี้ ไม่มีอำนาจสอบสวน จึงไม่มีอำนาจควบคุม เหตุที่เป็นดังนี้ เพราะมีมาตรา 16 ปวิอ คุมไว้ว่า การใช้อำนาจสอบสวนของฝ่ายปกครองและตำรวจต้องไปไปตามกฎหมายที่ว่าด้วยอำนาจ หน้าที่ ของตำรวจด้วย

แม้ว่าฝ่ายปกครอง และ ตำรวจ ต่างฝ่ายต่างมีอำนาจสอบสวนตาม วิอาญา 18 ก็ตาม แต่ฝ่ายใดจะรับผิดชอบเป็นพนักงานสอบสวน เป็นหน พงส ผู้สั่งคดีส่งสำนวนไปอัยการ ต้องนำ กฎกระทรวงออกตามมาตรา 5 แห่ง ปวิอ มาประกอบการพิจาณาด้วย เพราะกฎกระทรวงนี้ ทั้ง สร 1 และ มท 1 ได้ลงนามร่วมกันกำหนดอำนาจหน้าที่ของแต่ละฝ่ายไว้ให้ชัดเจนแล้ว

หรือ อีกนัยหนึ่งก็คือ กฎกระทรวงตามมาตรา 5 เป็นตัวกำหนดแบ่งความรับผิดชอบในการสั่งสำนวน ระหว่างฝ่ายปกครอง และตำรวจ ออกไปตามประเภทคดี ไม่ให้เกี่ยงกัน ไม่ให้แย่งกัน ในการเข้ารับผิดชอบทำสำนวนคดีและเป็น หน พงส สั่งคดี

สำหรับ คดี 16 ประเภทตามกฎกระทรวง ข้อ5 วางหลักให้ ฝ่ายปกครองเท่านั้น รับผิดชอบเป็น หน พงส ตำรวจไม่มีอำนาจรับผิดชอบในฐานะ หน พงส ผู้สั่งคดีแต่อย่างใด เช่น คดีผิด พรบ โรงแรม แม้ว่า ปลัดจะจับส่ง พงส สอบสวน แต่ หน สภ จะไม่มีอำนาจสั่งคดี ในระหว่างตำรวจทำสำนวน 16 ประเภท ฝ่ายปกครอง จะเข้าควบคุมการสอบสวนเป็น หน พงสได้ ต้องส่งสำนวนให้ฝ่าย ปกครองสั่งคดีส่งสำนวนไปอัยการต่อไป และหาก คดี 16 ประเภท ฝ่ายปกครองไม่เข้าคุม พงส ตำรวจ ก็ไม่มีอำนาจสั่งคดี ต้องส่งสำนวนให้ฝ่ายปกครองสั่ง ตามอำนาจแห่งกฎกระทรวงที่ให้นายอำเภอ ผู้ว่า สั่งคดีเท่านั้น
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
พงส์๒๕๕๓
ผู้ชำนาญการ
ผู้ชำนาญการ


เข้าร่วมเมื่อ: 09/12/2010
ตอบ: 1514

ตอบตอบ: 11/01/2022 10:33 pm    ชื่อกระทู้: Re: ฎีกาเกี่ยวกับผู้ว่าราชการเข้าควบคุมคดีอาญา ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

วิธีคิด บันทึก:
...เพิ่มเติม...

...ผู้ว่าอ้างอาศัยอำนาจ "ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๙๖/๒๕๕๗
เรื่อง การจัดตั้งศูนย์ดํารงธรรม ข้อ ๕ " บวกกับข้อบังคับกระทรวงมหาดไทย พ.ศ.๒๕๒๓ พ่วงมาด้วย...

...https://www.dol.go.th/dol_complain/DocLib1/korsorcho%2096-2557.PDF...

................................................................................................

ป คสช 96

...........ฯลฯ.........

การบังคับการ ให้เป็นไปตามกฎหมายเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยในสังคมตามนโยบายของรัฐบาล ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอํานาจสั่งการ บังคับบัญชา กํากับ ดูแล บรรดาข้าราชการและพนักงานของรัฐในเขตจังหวัดยกเว้นข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ข้าราชการทหาร ข้าราชการฝ่ายตุลาการ ข้าราชการฝ่ายอัยการข้าราชการในสํานักงานการตรวจเงินแผ่นดิน พนักงานในสํานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจําจังหวัดและข้าราชการในสํานักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติประจําจังหวัด

.........ฯลฯ...........


เนื้อหาคสชฯ นี้ ไม่ใช่บทบัญญัติที่ให้อำนาจ และ หน้าที่ ในการเข้าเป็นพนักงานสอบสวนในคดีอาญา ตาม ปวิอาญา แต่ประการใด

แต่เนื้อหามีลักษณะเป็นการปฏิบัติการหรือสั่งการในทางปกครอง ในฐานะเป็นเจ้าเมืองหรือข้าหลวงประจำจังหวัดผู้แทนรัฐบาลในส่วนกลาง มิใช่บทบัญญัตีที่ให้อำนาจหน้าที่แก่ผู้ว่าในกระบวนการยุติธรรมแต่อย่างใด การปฏิบัติการทางปกครอง กับ การปฏิบัติการในกระบวนการยุติธรรม แยกออกจากกัน เหมือน คดีศาลยุติธรรม กับ คดีปกครอง

ที่ให้ผู้ว่า มีอำนาจสั่งการ บังคับบัญชา กํากับ ดูแล บรรดาข้าราชการ ฯลฯ ไม่ได้หมายความว่า ให้ผู้ว่า ลงมือปฏิบัติการเป็นพนักงานสอบสวนเสียเอง หรือ สั่งคดีเสียเอง หรือ เข้าควบคุมการสอบสวนเป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวนเสียเอง

เพราะการใช้อำนาจเข้าทำการสอบสวนอยู่ในบังคับตาม ปวิอ 16 ที่ให้การใช้อำนาจสอบสวน ตาม ปวิอาญา (ย้ำอำนาจสอบสวนตาม ปวิอาญา) เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับทั้งหลายว่าด้วยอำนาจหน้าที่ของฝ่ายปกครองและตำรวจนั้นด้วย

ประกาศ คสช.ฉบับนี้ ไม่ใช่กฎหมายให้อำนาจหน้าที่สอบสวนแก่ผู้ว่าแต่ประการใด จึงไม่อาจอ้างประกาศฉบับนี้ เข้าควบคุมการสอบสวนในคดีทุกประเภทแต่อย่างใด

การบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย อำนาจสั่งการ บังคับบัญชา กำกับดูแล ใช้อย่างไร?

ตัวอย่าง

ตัวอย่าง 1 ตำรวจสอบสวนคดีป่าไม้ ไม่จัดทนายความให้ผู้ต้องหา หรือ พงสฯ ไม่สอบสวนพยานฝ่ายผู้จับกุมอ้าง จึงขอความเป็นธรรมต่อผู้ว่า ผู้ว่าไม่มีอำนาจเข้าควบคุมการสอบสวนเสียเอง แต่มีอำนาจสั่งการ บังคับบัญชา กำกับ ดูแล สั่งการให้ผู้การจังหวัดเข้าตรวจสอบแก้ไข ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายและรายงานผู้ว่าทราบ ถ้าผู้การดำเนินการไม่ถูกต้องอีก ผู้ว่าก็มีอำนาจรายงานให้ผู้บัญชาการทราบเพื่อดำเนินการให้มีการสอบสวนด้วยความยุติธรรม ตามขั้นตอนของกฎหมายในอำนาจหน้าที่สอบสวนของตำรวจ อย่างนี้คือ อำนาจของผู้ว่าในการสั่งการ บังคับบัญชา กำกับ ดูแล ซึ่งมิใช่เป็นการที่ผู้ว่าต้องลงไปปฏิบัติการสอบสวนแทนเสียเอง ปฏิบัติการเป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวนแทนเสียเอง หรือ กำหนดประเด็นสอบสวนในสำนวนการสอบสวนเสียเอง

ตัวอย่าง 2 คดีโทษประหาร พงสฯ สอบสวนผู้ต้องหาโดยไม่จัดทนายความให้ผู้ต้องหา ตามที่กฎหมายบัญญัติ ผู้ต้องหาร้องขอความเป็นธรรมต่อผู้ว่า ผู้ว่าบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายได้ อ้าง ป.คสช ใช้อำนาจสั่งการให้ ผู้บังคับบัญชาของ พงสฯลงไปดำเนินการสอบสวนให้เป็นไปตามกฎหมาย มิใช่ให้ผู้ว่า ลงไปเป็นพนักงานสอบสวนหรือ เป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวนเข้าควบคุมการสอบสวนแต่ประการใด

สรุป การสอบสวนทำสำนวนยังคงเป็นไปตาม พรบ.ให้ใช้ปวิอ มาตรา 5 ประกอบกฎกระทรวง 16 พรบ และตอบข้อหารือกฤษฎีกา 216 โดยคดี 16 ประเภทฝ่ายปกครองรับผิดชอบเป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวน คดีอื่น ตำรวจเป็นผู้สอบสวน และรับผิดชอบเป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวนสั่งคดี

ส่วนผู้ว่า อ้างประกาศ คสช 96 ในฐานะรับผิดชอบศูนย์ดำรงธรรมจังหวัด นี้ได้ โดยมีอำนาจเพียง บังคับการ สั่งการ กำกับ ดูแล ให้พนักงานสอบสวนฝ่ายตำรวจสอบสวนให้เป็นไปตามกฎหมาย โดยผู้ว่าไม่มีอำนาจรับผิดชอบเป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวน ไม่ต้องลงมือไปเป็นพนักงานสอบสวนเอง ไม่ต้องเข้าไปไปควบคุมการสอบสวนเป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวนเพื่อสั่งคดีเสียหายหรือกำหนดประเด็นการสอบสวนเสียเองแต่ประการใด
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
พงส์๒๕๕๓
ผู้ชำนาญการ
ผู้ชำนาญการ


เข้าร่วมเมื่อ: 09/12/2010
ตอบ: 1514

ตอบตอบ: 11/01/2022 11:02 pm    ชื่อกระทู้: Re: ฎีกาเกี่ยวกับผู้ว่าราชการเข้าควบคุมคดีอาญา ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

วิธีคิด บันทึก:

...

...แต่ความเห็นของผม อำนาจสอบสวนตาม ป.วิ อาญา ม.๑๘ วรรคแรก ก็ยังให้อำนาจการสอบสวนฝ่ายปกครอง ตามหนังสือ เรื่องเสร็จที่ ๒๑๖/๒๕๕๙ น่าจะเป็นการขยายความที่ให้จำกัดอำนาจของฝ่ายปกครองไม่ให้กว้างเกินไป ประมาณนั้นนะครับ...

...การที่ผู้ว่าฯ ในจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพฯ ใช้อำนาจเข้าควบคุมในคดีอาญาในความผิดตาม ป.อาญา ผู้ว่าฯ ก็น่าจะเป็นพนักงานสอบสวนตาม ม.๑๘ ว.ท้าย และเป็นผู้รับผิดชอบตาม ม.๑๔๐ การที่ไม่ได้ลงชื่อสรุปสำนวนการสอบสวน การสอบสวนอาจไม่ชอบด้วย ป.วิ อาญา ม.๑๒๐ พนักงานอัยการจึงไม่มีอำนาจฟ้อง...

...ขอความเห็นด้วยครับ...

................................................................


ต้องนำ ปวิอ 16 มาใช้ด้วย การใช้อำนาจสอบสวนของฝ่ายปกครอง ของฝ่่ายตำรวจ ต้องเป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับทั้งหลายว่าด้วยอำนาจหน้าที่ของฝ่ายปกครองและตำรวจนั้นด้วย ท่านก็ต้องย้อนไปนำ พรบให้ใช้วิอ แก้ไข 2548 มาตรา 5 ซึีงเป็นตัวกำหนดการใช้อำนาจสอบสวนของฝ่ายปกครองและตำรวจ ซึ่งตาม วิอ 18 ให้อำนาจฝ่ายปกครองและตำรวจ ต่างฝ่ายต่างมีอำนาจสอบสวนได้ทุกประเภทคดีมาตั้งแต่ 1 ตค 2477 แต่ถูกแก้ไขโดยมาตรา 5 ประกอบกฎกระทรวงจำกัดอำนาจการสอบสวนฝ่ายปกครองและตำรวจ โดยให้ฝ่ายปกครองรับผิดชอบเป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวนเพียง 16 ประเภทคดี คดีอื่นให้ตำรวจรับผิดชอบ มีเจตนารมณ์บอกไว้ที่หมายเหตุท้ายกฎกระทรวง

การที่พนักงานสอบสวนตำรวจรับผิดชอบสอบสวนคดีอื่น นอก 16 ประเภท จึงชอบด้วยกฎหมาย อัยการมีอำนาจฟ้อง

ในทำนองกลับกัน คดีอื่นนอก 16 ประเภท เช่น คดีการพนัน ฝ่ายปกครองจับเอง สอบสวนฟ้องวาจาศาลแขวงเอง ย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ว่าจะเคยมีบางแห่งลองวิชาให้ฝ่ายปกครองจับสถานบริการเอง ฝ่ายปกครองจับการพนันเอง แล้วฟ้องใบแดงเองได้ศาลก็ลง แต่ก็จะไปเอาอย่างไม่ได้ เพราะเป็นการสอบสวนไม่ชอบ แม้จะมีคำตัดสินได้ แต่ก็เพียงคดีนั้นคดีเดียว ไม่มีใครกล้าเอาเป็นแบบอย่างได เพราะมันขัดกฎหมาย

ในกระบวนการยุติธรรม บางครั้งก็มีกรณีผิดพลาดได้ในระดับปฏิบัติการต้นธาร กลางธาร ปลายธาร เช่น เสพกันชาขับรถ เรื่องราวเป็นยังไงคงไม่เหมาะที่จะกล่าว
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
วิธีคิด
ผู้ชำนาญการ
ผู้ชำนาญการ


เข้าร่วมเมื่อ: 10/05/2008
ตอบ: 1565

ตอบตอบ: 20/01/2022 5:35 pm    ชื่อกระทู้: Re: ฎีกาเกี่ยวกับผู้ว่าราชการเข้าควบคุมคดีอาญา ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

...ท่านพงส์๒๕๕๓ ช่างตอบได้ดีมากทั้งข้อกฎหมายและคำอธิบาย...

...ขอบคุณท่านพงส์๒๕๕๓ มากครับ....

อมยิ้ม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    sobsuan.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> คำพิพากษา ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group




เนติบัณฑิต | อาชีวะ | ภูผาหมอกเขาค้อ | เงินกู้ | สินเชื่อ

การสร้างหน้าเอกสาร: 0.13 วินาที