ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
Nipon สมาชิก


เข้าร่วมเมื่อ: 12/08/2009 ตอบ: 127
|
ตอบ: 14/06/2019 1:04 pm ชื่อกระทู้: สอบถามเกี่ยวกับคำสั่งศาล |
|
|
กรณี ผู้ต้องหาเยาวชนเข้าพบพนักงานสอบสวน แจ้งข้อกล่าวหา ครบ 30 วัน จึงไปยื่นคำร้องขอผัดฟ้องผู้ต้องหา (ในคำร้องไม่ขอให้ควบคุมตัวไว้ระหว่างการสอบสวน) ศาลแจ้งว่า พนักงานสอบสวน ยื่นคำร้องขอผัดฟ้อง โดยไม่ขอให้ควบคุมตัวได้ แต่ศาลก็สามารถใช้ดุลพินิจควบคุมตัวได้ (ศาลเด็ก) อันนี้ ไม่ทราบจริงๆ ครับ เพราะเป็นเรื่องกระบวนการในชั้นศาล จึงไม่สันทัด ใครพอจะอธิบายได้ไหมครับ ว่า เป็นเพราะอะไร ขอเป็นหลักกฎหมายครับ ถ้าเป็นศาลจังหวัด หรือ ศาลแขวง ผมอาจจะเห็นว่า เป็นการสั่งเกินคำขอ แต่ศาลเด็กน่าจะมีบทบัญญัติพิเศษอะไร ครับ ขอเป็นความรู้เฉยๆครับ ขอบคุณครับ

ลิงก์ผู้สนับสนุน Sponsored Links
|
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
พงส์๒๕๕๓ ผู้ชำนาญการ


เข้าร่วมเมื่อ: 09/12/2010 ตอบ: 1514
|
ตอบ: 22/05/2020 3:38 pm ชื่อกระทู้: สอบถามเกี่ยวกับคำสั่งศาล |
|
|
พงส์๒๕๕๓ บันทึก: | แนวทางของศาลเยาวชนฯกลาง
www2.djop.moj.go.th/tr4030/newlaw_2553.pdf
ดูหน้า 47 ด้านซ้ายมือ กรณีเด็กเข้าหาพนักงานสอบสวน (มาตรา 71 )
***********************************************
แจ้งข้อหาแล้ว หากเห็นว่าจำเป็นต้องควบคุมผู้ต้องหา พงสฯสามารถใช้ ปวิอ ๑๓๔ วรรคท้าย พาตัวผู้ต้องหาไปศาลเยาวชน ......****.แต่ไม่ใช่พาไปไต่สวนการจับตามวิเด็ก****..... แต่เป็นการพาไปตาม ปวิอ ๑๓๔ วรรคท้าย เพื่อให้ศาลสั่งให้ควบคุมตัวเด็กหรือเยาวชนผู้ต้องหาไว้ในสถานพินิจ เพื่อเป็นหลักประกันการมีตัวผู้ต้องหาไว้ฟ้องคดีเมื่อสอบสวนเสร็จส่งสำนวนให้อัยการโดยไม่มีปัญหาการไร้เงาตัวผู้ต้องหา
ไปศาลแล้วศาลเยาวชนฯเอา ปวิอ.71 กับ 66 มาใช้ได้โดยอนุโลมตาม ม.6 วิเด็ก
ปวิอ 71 กับ 66 ให้ศาลมีอำนาจสั่งควบคุมผู้ต้องหาได้ โดยอาศัยหลักเกณฑ์เดียวกับการอนุมัติให้ออกหมายจับ เด็กหรือเยาวชนผู้ต้องหามีอายุไม่เกิน 18 ปี วิเด็ก. มาตรา 71 วรรคสามวางหลักให้อำนาจศาลว่า ไม่ห้ามศาลที่จะสั่งให้ผู้ต้องหานั้นอยู่ในความดูแลของเจ้าพนักงาน ศาลเยาวชนฯจึงมีอำนาจสั่งควบคุมเด็กหรือเยาวชนผู้ต้องหาที่มีเหตุจำเป็นต้องควบคุมได้ตามคำร้องขอของพนักงานสอบสวน แม้ว่าจะมามอบตัวก็ตาม
เหตุจำเป็นที่ พงสฯ ขอบที่จะร้องขอต่อศาลให้ควบคุมเด็กหรือเยาวชลที่มามอบตัวมีสองหลักเกณฑ์ได้แก่
1.คดีนั้นต้องเป็นคดีที่โทษจำคุกเกินสามปี ตาม 66(1) เช่น ฆ่าผู้อื่น จำหน่ายยาเสพติด หรือ
2. โทษไม่เกินสามปี แต่ผู้ต้องหามีพฤติการณ์หลบหนี จะยุ่งเหยิงกับหลักฐาน หรือจะก่ออันตราย
ภายใต้เงื่อนไขสองข้อนี้ ศาลจะสั่งควบคุมหลังแจ้งข้อหาดำเนินคดีตาม 134 ก็ได้ ทั้งนี้เป็นการสอดคล้องกับอำนาจศาลตามวิเด็ก มาตรา ๗๓ วรรคสอง ที่วางหลักว่า การกระทำของเด็กหรือเยาวชนมีลักษณะหรือพฤติการณ์ที่อาจเป็นภัยต่อบุคคลอื่นอย่างร้ายแรง หรือมีเหตุสมควรประการอื่น ศาลอาจมีคำสั่งให้ควบคุมเด็กหรือเยาวชนที่ต้องหานั้นไว้ในสถานพินิจหรือสถาน ที่อื่นตามที่ศาลเห็นสมควร แต่อย่างไรก็ตามศาลท่านอาจใช้ดุลยพินิจไม่สั่งควบคุมตามคำร้องขอก็เป็นไปได้อีกเช่นนั้น
***สรุป ***- แจ้งข้อหาเด็กที่มิใช่การจับกุม ก็สามารถนำตัวเด็กไปขอให้ศาลสั่งควบคุมเด็กในสถานพินิจได้
ตัวอย่างที่หนึ่ง [*/*]----- โทษจำเกินสามปี เข้าเกณฑ์ควบคุมตาม 66(1)
เยาวชนอายุ ๑๖ ปีร่วมกับพวกอายุคราวเดียวกันอีกสามคน หนีผู้ปกครองมาแอบดูหนังโป๊ แล้วเกิดความใคร่ ก่อเหตุบีบคอข่มขืนแล้วฆ่าเด็กหญิงแล้วหลบหนีไป ประชาชนให้ความสนใจ สื่อมวลชนตีข่าวหน้าหนึ่งหลายวัน ผู้ปกครองจึงพามามอบตัว พงสฯแจ้งข้อหาดำเนินคดีทั้งสามคน เพราะพยานหลักฐานพอแจ้ง คดีประเภทนี้แม้ไม่ต้องไต่สวนการจับก็ตาม แต่พงสฯ ควรอาศัยเหตุเป็นคดีร้ายแรงโทษจำคุกเกินสามปี ตามปวิอ ๗๑ ประกอบ ๖๖(๑) ประกอบพฤติการณ์เป็นภัยร้ายแรง มีเหตุที่ศาลเยาวชนจะสั่งควบคุมตัวผุ้ต้องหาในสถานพินิจได้ตาม ๗๓ วรรคสอง พงสฯมีอำนาจพาตัวผู้ต้องหาไปศาลตาม ๑๓๔ วรรคท้ายให้ศาลเยาวชนสั่งควบคุมตัวผู้ต้องหาไว้ในสถานพินิจ
ตัวอย่างที่สอง \*|*/------ โทษไม่เกินสามปีแต่ผู้ต้องหามีพฤติการณ์จะก่ออันตรายฯ เข้าเกณฑ์สั่งควบคุมตาม 66(2)
เยาวชนอายุ 16 ปีเป็นนักเรียกช่างกล ถูกกล่าวหาว่า ดักตีทำร้ายนักเรียนคู่อริจนบาดเจ็บ ผิดปอ. 295 โทษจำไม่เกินสองปี ผู้เสียหายมาร้องทุกข์ มีพยานมายืนยันการกระทำผิด คดีมีหลักฐาน พงสฯจึงออกหมายเรียกนัดให้ผู้ต้องหามารับทราบข้อหา ก่อนถึงวันนัด พยานที่เคยมาให้ถ้อยคำไว้มาให้ถ้อยคำเพิ่มเติมว่า ถูกผู้ต้องหาข่มขู่ว่าจะดักทำร้าย โดยหาว่าพยานนั้นชอบยุ่งเรื่องของชาวบ้านดีนัก
ถึงวันนัด พงสฯแจ้งข้อหาผู้ต้องหาแล้วก็ชอบที่จะพาผู้ต้องหาไปให้ศาลสั่งควบคุมในสถานพินิจ โดยอ้างเหตุว่า ผู้ต้องหาจะก่ออันตรายอีกได้เพราะมีการข่มขู่พยาน เข้าเหตุ 66(2) ที่ศาลจะสั่งควบคุมได้ พาพยานที่ถูกข่มขู่ไปให้ศาลไต่สวนด้วย ศาลก็จะสั่งควบคุมเด็กในสถานพินิจได้
แต่ถ้าดคีโทษไม่เกินสามปี ผู้ต้องหาไม่มีพฤติการณ์หลบหนี ไม่น่าจะก่ออันตราย ไม่ยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน ไม่เข้าเกณฑ์ตาม ปวิอ 66(2) ประกอบ 71 ศาลก็ไม่มีอำนาจสั่งควบคุม แจ้งข้อหาแล้วก็ไม่ต้องควบคุม แต่ต้องรายงานให้สถานพินิจทราบ และครบ 30 วันฟ้องไม่ทันก็ต้องออกหมายเรียกตัวเด็กไปผัดฟ้องพร้อมพงสฯ
ตัวอย่างที่สาม |*_*|---- - โทษไม่เกินสามปี แต่ผู้ต้องหามอบตัว ไม่มีพฤติการณ์ร้าย ไม่เข้าเกณฑ์ 66(2)
ผู้ต้องหาเด็กขับรถประมาทชนผู้อื่นเจ็บสาหัส โทษไม่เกินสามปี ตาม ปอ 300 ผู้ต้องหาไม่ได้หลบหนี ไม่มีพฤติการณ์ยุ่งเหยิงกับหลักฐาน ไม่มีวี่แววว่าจะก่อเหตุอันตรายใดๆ อีก มามอบตัวแล้วโดยสมัครใจ พงสฯแจ้งข้อหาดำเนินคดี
อย่างนี้ไม่มีเหตุจะไปขออำนาจศาลสั่งควบคุมในสถานพินิจ เพราะไม่เข้าเกณฑ์ตาม 66(2) หากขืนพาไปให้ศาลสั่งควบคุม ศาลย่อมยกคำร้อง มิหนำซ้ำพ่อแม่ผู้ต้องหาจะมองค้อนเอาได้ ว่ามาทำไมให้เสียเวลานักฮึ! ซ้ำร้ายเขาอาจจะเรียกค่าเสียหายเข้ามาอีกหาว่าละเมิดจงใจทำหน้าที่โดยมิชอบ พาไปให้ศาลควบคุมเด็กผู้ต้องหาทั้งที่รู้อยู่แล้วว่าไม่มีเหตุที่ศาลจะสั่งควบคุมตามกฎหมาย พาไปเสียเวลา เสียโอกาส ทำมาหากิน ร้องเรียนเรียกค่าเสียหายทางละเมิดมาอีกมันจะยุ่งนักหนา
สรุป เด็กมอบตัวแจ้งข้อหาแล้ว พาไปให้ศาลสั่งควบคุมในสถานพินิจได้ภายใต้หลักเกณฑ์ ปวิอ 134วรรคท้าย, 71 และ 66(2) และ วิเด็ก 71
แต่ถ้าโทษไม่เกินสามปี เด็กไม่ได้หนี เด็กไม่ได้ยุ่งเหยิงกับหลักฐาน เด็กไม่มีพฤติการณ์ก่ออันตราย ก็ไม่มีเหตุที่จะขอให้ศาลสั่งควบคุมในสถานพินิจ
จำ เหตุออกหมายจับของศาล ตามมาตรา 66 เป็นเหตุเดียวกันกับเหตุที่ศาลจะใช้อำนาจออกหมายขังระหว่างสอบสวน ตาม ปวิอ 71 | |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
พงส์๒๕๕๓ ผู้ชำนาญการ


เข้าร่วมเมื่อ: 09/12/2010 ตอบ: 1514
|
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
|
|
|