ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
webmaster เว็บมาสเตอร์


เข้าร่วมเมื่อ: Aug 17, 2007 ตอบ: 1393
|
ตอบ: 30/10/2007 1:20 pm ชื่อกระทู้: ลักไม้ในที่โฉนด |
|
|
ลักไม้ในที่โฉนด
ข้อความ : คนร้ายลักลอบใช้เลื่อยโซ่ยนต์ ตัดต้นไม้กระบก จำนวน ๕ ต้น ในที่ดินที่มีหลักฐานโฉนดที่ดิน ขอทราบว่า จะมีความผิดฐาน ทำไม้ ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ ด้วยหรือไม่
จาก : คนไกลป่า - 04/10/2007 15:58
ข้อความ :
มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้
(๑)๑ "ป่า" หมายความว่า ที่ดินที่ยังมิได้มีบุคคลได้มาตามกฎหมายที่ดิน
(๒) "ไม้" หมายความว่า ไม้สักและไม้อื่นทุกชนิด ที่เป็นต้น เป็นกอ เป็นเถา รวมตลอดถึงไม้ไผ่ทุกชนิด ปาล์ม หวาย ตลอดจนราก ปุ่ม ตอ เศษปลายและกิ่งของสิ่งนั้นๆไม่ว่าจะได้ถูกตัดตอนเลื่อยผ่าถากขุดหรือกระทำโดยประการอื่นใด
(๓)๒"แปรรูป"หมายความว่าเลื่อยหรือกระทำด้วยประการอื่นใดแก่ไม้ให้เปลี่ยนรูปหรือขนาดไปจากเดิมนอกจากการ ลอกเปลือกหรือตกแต่งอันจำเป็นแก่การชักลาก
.................................................................................................
จะเป็นความผิดตาม พรบ.ป่าไม้ ก็ต่อเมื่อได้มาจากป่าไม้ ที่ยังไม่ไม่มีผู้ใดได้กรรมสิทธิ์มาตามกฎหมายที่ดิน
ตามความเห็นของผม ถ้าเป็นผมคิดว่าคงตั้งข้อหา
ลักทรัพย์ ถ้าอัยการมีความเห็นเป็นอื่นก็ค่อยว่ากัน
.................................................................................................
พระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช ๒๔๘๔
บทบัญญัติทั่วไป
ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
(ตามประกาศประธานสภาผู้แทนราษฎร ลงวันที่ ๔ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๘๐)
อาทิตย์ทิพอาภา
พล.อ.พิชเยนทรโยธินตราไว้ ณ วันที่ ๑๔ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๘๔เป็นปีที่ ๘ ในรัชกาลปัจจุบันโดยที่สภาผู้แทนราษฎรลงมติว่า สมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้ ให้เหมาะสมแก่การสมัยยิ่งขึ้น จึงมีพระบรมราชโองการให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎรดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้ให้เรียกว่า "พระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช ๒๔๘๔"
มาตรา ๒ ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๘๕เป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิก
(๑) ประกาศพระบรมราชโองการว่าด้วยภาษีไม้ขอนสักแลไม้กระยาเลย ลงวันอาทิตย์ เดือนสี่ แรมแปดค่ำ ปีจอ ฉศก จุลศักราช ๑๒๓๖
(๒) ประกาศพระบรมราชโองการเรื่องซื้อขายไม้ขอนสัก ลงวันพุธ เดือนเก้า ขึ้นค่ำหนึ่ง ปีวอก นพศก จุลศักราช ๑๒๔๖
(๓) ประกาศพระบรมราชโองการเรื่องไม้ขอนสัก ลงวันอาทิตย์ เดือนเจ็ด ขึ้นค่ำหนึ่ง ปีกุน นพศก จุลศักราช ๑๒๔๙
(๔) ประกาศพระบรมราชโองการเพิ่มเติมเรื่องขอนไม้สัก ลงวันจันทร์ เดือนสิบเอ็ด แรมหนึ่งค่ำ ปีกุน นพศก จุลศักราช ๑๒๔๙
(๕) พระราชบัญญัติไม้ซุงและไม้ท่อนที่ดวงตราลบเลือน ร.ศ.๑๑๕
(๖) พระราชบัญญัติประกาศการรักษาป่าไม้ ร.ศ.๑๑๖
(๗) พระราชบัญญัติรักษาต้นไม้สัก ร.ศ.๑๑๖
(๘) พระราชบัญญัติป้องกันการลักลอบตีตราไม้ ร.ศ.๑๑๗
(๙) พระราชบัญญัติป้องกันการลักลอบชักลากไม้สัก ที่ยังมิได้เสียค่าตอแลภาษี ร.ศ.๑๑๘
(๑๐) กฎกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยไม้ไหลลอย ร.ศ.๑๑๙
(๑๑) กฎข้อบังคับอนุญาตไม้สักใช้ในการปลูกสร้างที่ทำราชการแล การสาธารณประโยชน์ ร.ศ.119
(๑๒) พระราชบัญญัติรักษาป่า พุทธศักราช ๒๔๕๖
(๑๓) กฎข้อบังคับวางระเบียบวิธีจัดการรักษาป่าไม้ พุทธศักราช ๒๔๕๖
(๑๔) กฎข้อบังคับวางระเบียบการหาของป่า ว่าด้วยการเก็บรวงผึ้ง พุทธศักราช ๒๔๖๔
(๑๕) กฎข้อบังคับวางระเบียบการหาของป่า ว่าด้วยการเจาะเผาต้น ตะเคียนทำชันในมณฑลปัตตานี พุทธศักราช ๒๔๖๕
(๑๖) กฎข้อบังคับวางระเบียบการหาของป่า ว่าด้วยการเจาะ เผา ทำ น้ำมันยาง พุทธศักราช ๒๔๖๕
(๑๗) พระราชบัญญัติแก้ไขพระราชบัญญัติพิกัดภาษีภายใน พุทธศักราช ๒๔๗๐ เฉพาะมาตรา ๔ (ก) และ (ข)
(๑๘) พระราชบัญญัติรักษาป่า (ฉบับที่ ๒) พุทธศักราช ๒๔๗๙
(๑๙) พระราชบัญญัติควบคุมการทำยางสน พุทธศักราช ๒๔๘๐
(๒๐)บรรดาบทกฎหมายกฎและข้อบังคับอื่นๆในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้หรือซึ่งแย้งกับบทแห่ง พระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้
(๑)๑ "ป่า" หมายความว่า ที่ดินที่ยังมิได้มีบุคคลได้มาตามกฎหมายที่ดิน
(๒) "ไม้" หมายความว่า ไม้สักและไม้อื่นทุกชนิด ที่เป็นต้น เป็นกอ เป็นเถา รวมตลอดถึงไม้ไผ่ทุกชนิด ปาล์ม หวาย ตลอดจนราก ปุ่ม ตอ เศษปลายและกิ่งของสิ่งนั้นๆไม่ว่าจะได้ถูกตัดตอนเลื่อยผ่าถากขุดหรือกระทำโดยประการอื่นใด
(๓)๒"แปรรูป"หมายความว่าเลื่อยหรือกระทำด้วยประการอื่นใดแก่ไม้ให้เปลี่ยนรูปหรือขนาดไปจากเดิมนอกจากการ ลอกเปลือกหรือตกแต่งอันจำเป็นแก่การชักลาก
(๔)๓"ไม้แปรรูป"หมายความว่าไม้ที่ได้แปรรูปแล้วแต่ไม่หมายถึงไม้ที่ได้ทำเป็นเครื่องใช้หรือสิ่งของอื่นหรือประกอบ เข้ากับเครื่องใช้หรือสิ่งของอื่นแล้ว
(๕)๔"ทำไม้"หมายความว่าตัดฟันกานโค่นลิดเลื่อยฝาถากทอนขุดชักลากไม้ในป่าหรือนำไม้ออกจากป่าด้วยประการ ใด ๆ
(๖) "ไม้ไหลลอย" หมายความว่า ไม้ต้น ไม้ซุง ไม้ท่อน ไม้เสา ไม้เข็ม ไม้หลัก ไม้เหลี่ยม ไม้กระดาน ซึ่งเป็นไม้หวงห้าม ที่ได้ไหลลอยโดยปราศจากการควบคุม
(๗)๕ "ของป่า" หมายความว่า บรรดาของที่อยู่ในป่าตามธรรมชาติ คือ
ก. ไม้ รวมทั้งส่วนต่าง ๆ ของไม้ ถ่าน น้ำมันไม้ ยางไม้ ตลอดจน สิ่งอื่น ๆ ซึ่งเกิดจากไม้
ข. พืชต่าง ๆ ตลอดจนสิ่งอื่น ๆ ซึ่งเกิดจากพืชนั้น
ค. รังนก ครั่ง รวงผึ้ง น้ำผึ้ง มูลค้างคาว
ง. แร่ น้ำมันแร่
(๘) "ไม้ฟืน" หมายความว่า บรรดาไม้ที่มีลักษณะและคุณภาพเหมาะสม ที่จะใช้เป็นเชื้อเพลิงยิ่งกว่าจะใช้ประโยชน์อย่างอื่น
(๙) "ชักลาก" หมายความว่า การนำไม้หรือของป่าจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งด้วยกำลังแรงงาน
(๑๐) "นำเคลื่อนที่" หมายความว่า ชักลาก หรือทำให้ไม้หรือของป่าเคลื่อนจากที่ไปด้วยประการใด ๆ
(๑๑)6"ขนาดจำกัด"หมายความว่าขนาดโตของต้นไม้ซึ่งกำหนดตามความในพระราชบัญญัตินี้โดยวัดรอบลำต้นตรง ที่สูง ๑ เมตร ๓๐ เซนติเมตร ตามลำต้นจากพื้นดิน
(๑๒)"ค่าภาคหลวง"หมายความว่าเงินค่าธรรมเนียมซึ่งผู้ทำไม้หรือเก็บหาของป่าจะต้องเสียตามความในพระราชบัญ ญัตินี้
(๑๓) "โรงงานแปรรูปไม้" หมายความว่า โรงงานหรือสถานที่ใดซึ่งจัดขึ้นไว้เป็นที่ทำการแปรรูปไม้รวมถึงบริเวณโรงงาน หรือสถานที่นั้น ๆ ด้วย
(๑๔) "โรงค้าไม้แปรรูป" หมายความว่า สถานที่ที่ค้าไม้แปรรูป หรือ ที่มีไม้แปรรูปไว้เพื่อการค้ารวมถึงบริเวณสถานที่ ่นั้น ๆ ด้วย
(๑๕) "ตราประทับไม้" หมายความว่า วัตถุใดอันประดิษฐ์ขึ้นเพื่อให้เกิดเป็นรูปรอยหรือเครื่องหมายใดๆนอกจากรูปรอย ที่เป็นตัวเลข ไว้ที่ไม้ซึ่งอยู่ภายใต้ความควบคุมแห่งพระราชบัญญัตินี้
(๑๖)"พนักงานเจ้าหน้าที่"หมายความว่าเจ้าพนักงานป่าไม้พนักงานป่าไม้หรือผู้ซึ่งรัฐมนตรีได้แต่งตั้งให้มีหน้าที่ดำเนิน ตามพระราชบัญญัตินี้
(๑๗) "รัฐมนตรี" หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา๕พระราชกฤษฎีกาหรือประกาศรัฐมนตรีซึ่งกำหนดขึ้นตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ให้คัดสำเนาประกาศไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอและที่ทำการกำนันหรือที่สาธารณสถานในท้องที่ซึ่งเกี่ยวข้อง
----------------------------------------------------------
(๑)มาตรา ๔ (๒)แก้ไขโดย พ.ร.บ.ป่าไม้ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ.๒๕๑๘ มาตรา ๓
(๒)มาตรา ๔ (๓)แก้ไขโดย พ.ร.บ.ป่าไม้ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๔๙๔ มาตรา ๓
(๓)มาตรา ๔(๔)แก้ไขโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ ๑๑๖ พ.ศ.๒๕๑๕ ข้อ ๑
(๔)มาตรา ๔ (๕)แก้ไขโดย พ.ร.บ.ป่าไม้ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ.๒๕๑๘ มาตรา ๔
(๕)มาตรา ๔ (๗)แก้ไขโดย พ.ร.บ.ป่าไม้ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ.๒๕๑๘ มาตรา ๕
(๖)มาตรา ๔(๑๑) แก้ไขโดย พ.ร.บ.ป่าไม้ (ฉบับที่ ๕)พ.ศ.๒๕๑๘ มาตรา ๖
จาก : ตาสี - 04/10/2007 16:26
ข้อความ : พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ ม.4(5) ทำไม้ หมายความว่า ตัด ฟัน กาน โค่น ฯลฯไม้ในป่า หรือนำไม้ออกจากป่าด้วยประการใดๆ และหมายความรวมถึงการกระทำดังกล่าวกับ ไม้สักหรือไม้ยาง ที่ขึ้นอยู่ในที่ดินที่มิใช่ป่า.......
ดังนั้นในข้อเท็จจริงนี้จึงไม่ผิด ฐานทำไม้ เนื่องจากไม้กระบกไม่ได้ขึ้นอยู่ในป่า
จาก : sss - 04/10/2007 16:29
ข้อความ : ในความเห็นของผมน่ะครับ
ที่ดิน ถ้ามีสิทธิครอบครอง ก็จะมีพวก น.ส.3
แต่ถ้ามีกรรมสิทธิ์ จะมีโฉนดที่ดิน
ดังนั้นในเมื่อที่ดินมีโฉนดคือมีกรรมสิทธิ์ จึงมีผู้ถือกรรมสิทธิ์ จึงไม่น่าจะเป็นความผิดตาม พรบ.ป่าไม้ แต่อาจจะผิดฐานละเมิดหรือว่าทำให้เสียทรัพย์ประมาณนั้น
****หรือเปล่าครับ
จาก : นศ.นิติฯอยากเป็นตำรวจไทย - 04/10/2007 22:41
ข้อความ : น่าจะเป็นลักทรัพย์เสียมากกว่า เพราะดูแล้วเจตนาทำให้เสียทรัพย์ ทรัพย์สินคงต้องอยู่ที่เดิมแต่นี่มันเล่นเอาไปด้วยก็จึงไม่น่าเป็นทำให้เสียทรัพย์ จึงเป็นการลักทรัพย์../
จาก : พงส.3 - 05/10/2007 07:55
ข้อความ : ไม่ใช่"ป่า"ครับ"ลักทรัพย์"ครับ ทำมาแล้ว ตรวจสอบเลื่อยตาม พรบ.เลื่อยโซ่ยนต์ ด้วยครับ
จาก : พงส.1 - 05/10/2007 09:51
ข้อความ : ไม้ขึ้นในที่ดินมีโฉนด ไม่ได้ขึ้นในป่า ก็ไม่ต้องใช้ พ.ร.บ.ป่าไม้มาใช้ในการพิจารณาทุกมาตรา เว้นแต่ ไม้สักและไม้ยาง เท่านั้น แต่ก็ไม้ ป.อาญา มาใช้ตามปกติ ก็เป็นข้อหาลักทรัพย์ ส่วนเลื่อยโซ่ยนต์ ก็บังคับตาม พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์ด้วย
จาก : พงสฯเชียงราย - 05/10/2007 13:44
ข้อความ : เหอะๆ ผมตอบตอนต้นมาถูกทาง แต่ดันตายน้ำตื้น ลักทรัพย์ครับ เหอะๆๆ
จาก : นศ.นิติฯอยากเป็นตำรวจไทย - 05/10/2007 23:53
ลิงก์ผู้สนับสนุน Sponsored Links
|
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
webmaster เว็บมาสเตอร์


เข้าร่วมเมื่อ: Aug 17, 2007 ตอบ: 1393
|
ตอบ: 15/12/2007 8:23 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
dd |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
|
|
|