ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
คนเมืองป่า กูรู


เข้าร่วมเมื่อ: 21/06/2012 ตอบ: 926
|
ตอบ: 21/03/2013 10:30 am ชื่อกระทู้: ความมาตรฐานของข้อสอบvsอาจารย์ติว |
|
|
สรุปว่า
ถ้ามีข้อความ "ไม่ดูให้ดี" นั้นเป็นข้อความที่มีความหมายว่า เป็นเรื่องที่ฟังเป็นที่ยุติว่า สามารถคาดหมายได้
ถ้าไม่มีข้อความ "ไม่ดูให้ดี" นั้นเป็นข้อความที่มีความหมายว่า เป็นเรื่องที่ฟังเป็นที่ยุติว่า ไม่สามารถคาดหมายได้
เห็นว่า ไม่น่าจะถูกต้อง ซึ่งหากจะตีความหมายของข้อสอบเป็นเช่นนี้แล้ว อาจารย์ทุกสถาบันหรือตำรา จะต้องสอนหรือบันทึกให้เหมือนกันไว้เลย กับข้อความนี้ แม้จะเป็นอาวุธร้ายแรงก็ตาม เพราะผมยังไม่เห็นด้วย จะฟังเป็นที่ยุติแบบนี้ ผมว่าเอาไปออกข้อสอบเนติฯ และไม่มีข้อความว่า ไม่ดูให้ดี ในคำถาม ผมเชื่อว่า ก็จะมีคนเพิ่มข้อความ "ไม่ดูให้ดี" อธิบายเข้าไปในการตอบคำถาม แล้วฟันธงเป็นประมาท แต่หากธงออกมาว่า ไม่ผิด เป็นเพียง ม.๕๙ ว.๓ อยากรู้จริงๆ นักศึกษาเห็นด้วยกับธงและจะประท้วงกันไหม ลองพิจารณาดูมาตรฐาน ว่าข้อสอบมาตรฐานหรือไม่
ลิงก์ผู้สนับสนุน Sponsored Links
|
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
พงส.shadow ผู้ชำนาญการ


เข้าร่วมเมื่อ: 26/12/2012 ตอบ: 1060
|
ตอบ: 21/03/2013 5:03 pm ชื่อกระทู้: ความมาตรฐานของข้อสอบvsอาจารย์ติว |
|
|
คำว่า ดาดหมายหรือคาดเห็น มีอยู่ด้วยกัน 2 เรื่อง
1.นำมาใช้วินิจฉัยในเรื่อง ทฤษฏีเงื่อนไข หรือความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผล หรือผลโดยตรง ซึ่งตรงนี้ จะมีเรื่องเหตุแทรกแซง(ตามทฤษฏีเหตุเหมาะสม)นำมาใช้ด้วย หากมีเหตุแทรกแซงเข้ามา จะดูว่าตัดความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผลนั้นได้หรือไม่ ถ้าตัดได้ก็ไม่ต้องรับผิด ถ้าตัดไม่ได้ก็ต้องรับผิด ดั่งตัวอย่างในเรื่อง คำชี้ขาดความเห็นแย้งของอัยการที่ยกมา โดยนักกฎหมายมักจะใช้คำว่าคาดหมายหรือคาดเห็นเข้ามาใช้ แทนใช้คำทฤษฏีดังกล่าว
2.ส่วนต่อมา(ตำราจากกฎหมายของประเทศคอมมอนลอร์)คือประมาทโดยจงใจ และประมาทธรรมดาหรือประมาทโดยรู้ตัวและประมาทโดยไม่รู้ตัว ซึ่งมีแต่ประมาทโดยจงใจเท่านั้นที่ใกล้เคียงกับเจตนาเล็งเห็นผล ข้อแตกต่างอยู่ตรงที่ว่าถ้าเล็งเห็นได้ว่าจะเกิดผลขึ้นเป็นแน่แท้ก็เป็นเจตนาเล็งเห็นผล แต่ถ้าเพียงแต่คาดเห็นผลว่าอาจเกิดขึ้นได้โดยไม่แน่ว่าจะเกิด และคิดว่าคงสามารถหลีกเลี่ยงผลนั้นได้ ก็เป็นประมาทโดยจงใจ ซึ่งตามกฎหมายไทย ประมาทตามมาตรา 59 วรรค 4 รวมถึงประมาทธรรมดาและประมาทโดยจงใจทั้งสองกรณี(จิตติ ติงศภัทิย์ กฎหมายอาญาภาค 1 และกฎหมายอาญา ภาค 1 ดร.เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์,คำอธิบายกฎหมายลักษณะอาญา หยุด แสงอุทัย) |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
คนเมืองป่า กูรู


เข้าร่วมเมื่อ: 21/06/2012 ตอบ: 926
|
ตอบ: 21/03/2013 11:33 pm ชื่อกระทู้: ความมาตรฐานของข้อสอบvsอาจารย์ติว |
|
|
ลองนำความหมายของคำว่า "คาดหมายหรือคาดเห็น" ทั้งสองเรื่องตามตำราที่อ้าง มาอธิบายข้อเท็จจริง ตามคำถามหน่อยสิครับ ว่า ตามคำถามในข้อเท็จจริง เป็นเรื่อง การคาดหมายแบบใด เป็นประมาท แบบใด อย่าเพียงแต่ลอกตำรามาพิมพ์ ขอให้ปรับทฤษฎี เข้ากับข้อเท็จจริงให้ผมทราบหน่อยครับ จะรอชม |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
หนวด สมาชิก


เข้าร่วมเมื่อ: 29/08/2012 ตอบ: 155
|
ตอบ: 22/03/2013 12:37 am ชื่อกระทู้: ความมาตรฐานของข้อสอบvsอาจารย์ติว |
|
|
อาการของท่านคนเมืองป่า คล้ายกับผมสมัยตอนเรียนเนฯ ใหม่ๆ แบบว่าอ่านตำราเจาะลึกมากๆ เดี๋ยวอีกสองสามปีก็จะเข้าใจว่ากฎหมายมันยากก็ตรงดุลยพินิจกับวิญญูชนนี่ล่ะ แต่อาการอย่างนี้เป็นอาการที่ดีนะครับ ต่อไปจะเป็นผู้แม่นยำในกฎหมายเฉพาะด้าน
ส่วนท่านพงส.shadow ก็น่าจะไปเป็นอาจารย์สอนกฎหมายนะครับเพราะสามารถอธิบายเรื่องที่งงๆ ให้เข้าใจได้ง่ายๆ นี่ขนาดทำงานอื่นอยู่
นับถือทั้งสองท่านครับ  |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
คนเมืองป่า กูรู


เข้าร่วมเมื่อ: 21/06/2012 ตอบ: 926
|
ตอบ: 22/03/2013 1:07 am ชื่อกระทู้: ความมาตรฐานของข้อสอบvsอาจารย์ติว |
|
|
คือจริงๆ แล้วผมก็ทราบดีมาก่อนแล้วครับ หลักการและทฤษฎีต่างๆ ผ่านมาแล้วทั้งนั้น แต่ที่ไม่เข้าใจคือ ถ้อยคำว่า "ไม่ดูให้ดี" นี่แหละครับ ว่ามันเป็นข้อความที่สามารถเป็นตัวมาตรฐานที่สามารถทำให้การตอบข้อสอบ เปลี่ยนไปถึง ที่คำถามเดียวกัน เพียงแต่ไม่ข้อความนี้ ทำให้ไม่มีความผิด ซึ่งผมไม่เห็นด้วย และที่อธิบายหลักการต่างๆ มานั้น ก็ไม่ได้มาอธิบาย อะไรกับคำถามที่ผมถามเลย เพียงแต่มาอธิบายหลักการทฤษฎีทั่วๆ ไปที่รู้กันอยู่เท่านั้นเอง
ซึ่ง หากท่าน พงส.shadow จะอธิบาย คำว่า "ป่าลึก" แสดงว่าท่านกำลังอธิบายว่า
เข้าป่า ซึ่งหากเป็นป่าไม่ลึก ข้อเท็จจริง จะบอกว่า "ไม่ดูให้ดี"
เข้าป่า ซึ่งหากเป็นป่าลึก ข้อเท็จจริง จะไม่บอกว่า "ไม่ดูให้ดี"
ซึ่งความแตกต่างตรงนี้ในข้อเท็จจริง ท่าน พงส.shadow ไม่ได้อธิบายอะไรเลย
ซึ่งจริงๆ แล้วแทบไม่ต้องเปิดตำราเอาทฤษฎีมาอธิบายกันเลย แค่เปรียบเทียบ หรือทำเป็นชาร์ตเปรียบเทียบง่ายๆ ว่า ข้อความ "ไม่ดูให้ดี" นั้น มันทำให้มันทำให้มีผลแตกต่างกันอย่างไร
เพราะการเข้าป่าเดียวกัน จะลึกหรือไม่ลึกไม่ใช่ประเด็นของคำถามเลย เวลาเดียวกัน สถานการณ์เดียวกัน ต่างกันแค่ถ้อยคำ "ไม่ดูให้ดี" เท่านั้นเอง
ไม่มีความจำเป็นต้องยก การกระทำ ความสัมพันธ์ ไม่ต้องยกมาเลยครับ แค่มาอธิบายว่า เข้าป่าเดียวกัน เวลาเดียวกัน ใช้อาวุธปืนกระบอกเดียวกัน คนอายุเท่ากัน วันเดียวกัน เพศเดียวกัน การศึกษาเท่ากัน ทำไมถึงต้อง ดูให้ดี หรือ ทำไมถึง ไม่ต้องดูให้ดี อธิบายตรงนี้สิครับ ถึงจะตรงประเด็นคำถาม
เพราะอะไรที่มันแตกต่างของคำถาม ต้องอธิบายถึงความแตกต่างของคำถาม อะไรที่มันไม่แตกต่าง จะไปอธิบายมันทำไมละครับ
เพราะไม่ว่าจะเป็นคำถามใด หากคำถามแรก มีการกระทำ คำถามที่สองก็ต้องมีการกระทำ เพราะเป็นข้อเท็จจริงเดียวกันของทั้งสองคำถาม คือมีการยิงปืน เมื่อมันไม่แตกต่าง ของคำถามก็ไม่จำเป็นต้องมาอธิบาย เพราะผมเห็นว่า มันไม่สัมพันธ์กับคำถามเลยครับ
ส่วนท่าน หนวด เมื่อเป็นคนลักษณะเดียวกัน วันเวลาเดียวกัน ป่าเดียวกัน ปืนกระบอกเดียวกัน เหตุการณ์แบบเดียวกัน จะใช้อะไรเป็นดุลพินิจที่แตกต่างกันครับ ว่ามันคาดหมายได้หรือไม่อย่างไร ช่วยอธิบายให้ผมทราบด้วยครับ
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย คนเมืองป่า เมื่อ 22/03/2013 3:33 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
คนเมืองป่า กูรู


เข้าร่วมเมื่อ: 21/06/2012 ตอบ: 926
|
ตอบ: 22/03/2013 3:17 am ชื่อกระทู้: ความมาตรฐานของข้อสอบvsอาจารย์ติว |
|
|
หากผม เอากรณี เอาอาหารมีพิษ ไปให้คนอื่นกิน โดยไม่รู้ว่า มีคแอบเอายาพิษใส่ อย่านี้สิครับ ค่อยมายกเหตุ เหตุที่อาจคาดหมายได้ มาประกอบ ว่ามันไม่อาจคาดหมายได้ แล้วค่อยชักแม่น้ำทั้งห้ามา สรุปด้วยดูให้ดีตามวิญญูชนหรือดุลพินิจของท่านหนวดได้เท่านี้ ไม่ต้องถึงขั้นตรวจแยกหาสารพิษ ต่อด้วยฟันธงไม่ผิดประมาท
เมื่อตามคำถามไม่ได้ถามกรณีอื่นมาเปรียบเทียบ ก็ต้องอธิบายถึงความสงสัยตามข้อเท็จจริงที่ผมถาม นี่ก็รอมานานแล้ว ยังไม่รู้เลยว่า คำว่า "ไม่ดูให้ดี" ในเรื่องเข้าป่า แล้วเข้าใจผิดนี่ ในเหตุการณ์เดียวกันทั้งสองคำถามแท้ๆ ต่างกันแค่คำว่า "ไม่ดูให้ดี" ไอ้เรื่องทฤษฎีต่างๆ นี่มันอธิบาย คำว่า "ไม่ดูให้ดี" ในเหตุการณ์เดียวกันนี้ได้อย่างไร ยกทฤษฎีคาดหมายมา ก็ใกล้เคียงแล้วครับ แต่ยังไม่ยอมปรับกับข้อเท็จจริงในคำถามว่า "หากไม่ดูให้ดี" มันอะไรคือสิ่งที่อาจคาดหมายได้ หรืออะไรคือสิ่งที่ไม่อาจคาดหมายได้ เพราะผมก็สงสัยเหมือนกันว่า จะนำทฤษฎีมาอธิบายคำถามที่เหมือนกันแทบทุกอย่าง ต่างกันตรงที่ ไม่ดูให้ดีนั้น จะอธิบายข้อเท็จจริงเดียวกัน ให้แตกต่างกันได้อย่างไร ยังรอความเห็นอีกเช่นเคยครับ |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
|
|
|