ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
คนเมืองป่า กูรู


เข้าร่วมเมื่อ: 21/06/2012 ตอบ: 926
|
ตอบ: 01/10/2012 11:59 pm ชื่อกระทู้: เกินกว่าเหตุหรือไม่ |
|
|
http://www.netithai.com/index.php?topic=628.0;wap2
จากความเห็น ของ อ.เกียรติขจรฯ
ข้อความสำคัญบางส่วนของ ม.๖๗ "- ได้สัดส่วน ได้สัดส่วนหรือไม่ใช้หลักอย่างเดียวกับ ม. ๖๘ ไม่ได้ จะได้สัดส่วนหรือไม่ ต้องพิจารณาโดยดูว่าภัยประการแรกต้องสูงกว่าภัยที่ผู้กระทำโดยจำเป็นได้ก่อให้เกิดขึ้น หากภัยประการแรกน้อยกว่าหรือเท่ากับภัยที่ผู้กระทำโดยจำเป็นได้ก่อให้เกิดขึ้น ถือว่าเกินสมควรแก่เหตุ"
คือผมสงสัยดังนี้ครับ
http://www.sitluangporsungwarn.com/webboard/index.php?topic=27233.0/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%9C%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99
ข้อความสำคัญส่วนหนึ่งที่นำมาถาม
(1)ต้องกระทำให้ตัวเองหรือผู้อื่นพ้นจากอันตราย ตัวอย่าง นายณรงค์กับนายอนุโรจน์ลงเรือโดยสารข้ามฟากแม่น้ำลึก เมื่อถึงกลางแม่น้ำ เรือเกิดอุบัติ
เหตุล่มลงนายณรงค์กับนายอนุโรจน์ เกาะแผ่นกระดานแผ่นเดียวกัน ซึ่งไม่อาจทานน้ำหนัก 2 คนได้ นายอนุโรจน์จึงแย่งแผ่นกระดานไปเสียคนเดียว ปล่อยให้นายณรงค์จมน้ำตาย
เช่นนี้ นายอนุโรจน์มีความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา แต่กระทำไปด้วยความจำเป็น เพื่อให้ตนเองพ้นจากภยันตรายที่ใกล้จะถึงและกระทำไปพอสมควรแก่เหตุ จึงได้รับยกเว้นโทษ
ขอถามดังนี้ครับ ตามข้อเท็จจริง เรื่องเรือล่ม ภัยประการแรก หากไม่กระทำจะจมน้ำตาย ส่วนภัยที่กระทำด้วยความจำเป็น ก็เป็นการกระทำให้คนอื่นจมน้ำตาย เป็นสัดส่วนของภัยที่เท่ากันหรือไม่ครับ
หรือจะอธิบายว่า ถ้าไม่ทำต้องตายทั้งคู่ ดังนั้นตายคนเดียวดีกว่าตายทั้งคู่ ตายหนึ่ง ดีกว่าตายสอง ตายหนึ่งเป็นภัยที่น้อยกว่าตายสอง อย่างนั้นหรือไม่ครับ แต่ถ้าอธิบายแบบนี้ ก็ต้องก่อให้เกิดความรู้สึกโต้แย้งว่า งั้นก่อนที่ มึงจะฆ่ากู กูต้องฆ่ามึงก่อน และถึงกูจะฆ่ามึง กูก็ต้องไม่รับโทษ หากตีความอย่างนี้ผมเห็นว่ากฎหมายไม่ยุติธรรม เพราะการรักษาชีวิตตนเองให้พ้นจากความตาย โดยใช้แลกกับความตายของคนอื่น แม้จะเป็นความจำเป็นตาม ม.๖๗ ก็ควรได้รับโทษ ตาม ม.๖๙ เพราะยังไงการรับโทษที่น้อยกว่าปกติ ย่อมดีกว่าที่ตนเองต้องเป็นฝ่ายตาย แล้วให้คนอื่นอยู่รอด ท่านอื่นเห็นเช่นไรครับ มีใครจะเลือกเป็นฝ่ายตายบ้างหรือเปล่าครับ
ลิงก์ผู้สนับสนุน Sponsored Links
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย คนเมืองป่า เมื่อ 02/10/2012 1:07 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
คนเมืองป่า กูรู


เข้าร่วมเมื่อ: 21/06/2012 ตอบ: 926
|
ตอบ: 02/10/2012 1:07 am ชื่อกระทู้: Re: เกินกว่าเหตุหรือไม่ |
|
|
ขออภัย |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
ยุติ กูรู


เข้าร่วมเมื่อ: 01/11/2011 ตอบ: 414
|
ตอบ: 02/10/2012 4:33 pm ชื่อกระทู้: เกินกว่าเหตุหรือไม่ |
|
|
เป็นเรื่องของการเห็นแก่ตัวมากกว่าครับ
อย่างเรื่อง...แย่งกระดาน
ถ้าไม่แย่งก็คงต้องตาย
ส่วนเรื่องใครจะยิงใครก่อน
เป็นเรื่องป้องกันโดยชอบ
ณ.เวลานั้น ถ้ามีใครเอาปืนมาจ่อเพื่อจะยิง
ยิ่งเป็นคนที่ไม่...รู้จัก ไม่ว่าใครต่อใครครับ
ใช้ความเร็ว ความไวให้เป็นประโยชน์
ชักปืนยิงสวนไป ถูกคนแปลกหน้าที่เอาปืนมาจ่อ
ตายไป ก็เป็นการป้องกันโดยชอบนะครับ
แล้วท่านเจ้าของกระทู้ว่าเกินกว่าเหตุไหมครับ |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
คนเมืองป่า กูรู


เข้าร่วมเมื่อ: 21/06/2012 ตอบ: 926
|
ตอบ: 02/10/2012 9:46 pm ชื่อกระทู้: เกินกว่าเหตุหรือไม่ |
|
|
ในความเห็นส่วนตัว ผมไม่เห็นด้วยกับ ท่าน WY ผู้ตั้งโจทย์ เรื่องเรือล่มแล้วแย่งไม้กระดาน ด้วยเหตุผลดังนี้ครับ
๑.หากนำเอาทฤษฎีสัดส่วนตามความเห็น อ.ทวีเกียรติฯ มาใช้ ภัยถึงชีวิตแลกกับภัยถึงชีวิต ย่อมเกินสมควรแก่เหตุ โดยไม่มีข้อโต้แย้ง
๒.ย่อมีคำถามว่า แล้วกรณีเรือล่มตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นต้องกระทำผิดอย่างไร จึงจะถือว่าไม่เกินสมควรแก่เหตุ นั้นหมายความว่า ต้องเป็นการกระทำผิด เท่านั้น หากไม่ใช่การกระทำผิด ย่อมไม่ใช่ ม.๖๗
๒.๑ การกระทำผิดที่ผมเห็นว่าไม่เกินกว่าเหตุในกรณีต้องเป็นการกระทำผิด ที่เป็นธรรม กล่าวคือ ทั้งสองคนต้องตกลงกันว่า จะแย่งกันใครเป็นฝ่ายแพ้ คนนั้นจำต้องยอมตาย ไม่ใช่การฉวยโอกาสแย่งไม้กระดานเอาทีเผลอ
๒.๒ หรือหากไม่ใช่การแย่งไม้กระดาน ก็ต้องเป็นการเป่ายิงฉุบ ทำนองนี้ครับ เป็นการแย่งโดยการสมัครใจแย่งของทั้งสองฝ่าย แบบนี้ผมเห็นว่าเป็นการกระทำผิดที่ไม่เกินกว่าเหตุ |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
|
|
|