ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
คนเมืองป่า กูรู


เข้าร่วมเมื่อ: 21/06/2012 ตอบ: 926
|
ตอบ: 02/09/2012 10:28 pm ชื่อกระทู้: ปล่อยกระแสไฟฟ้าเพื่อป้องกันทรัพย์สิน ที่ชอบด้วยกฎหมาย |
|
|
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 684/2538
นาง วัฒนา ขำดี
โจทก์
นาย ธรณี อมรทวีพร
จำเลย
ป.พ.พ. มาตรา 449 วรรคหนึ่ง
คนร้ายเคยเจาะกำแพงอิฐบล็อกโรงงานของจำเลยแล้วลักเอาสิ่งของจากโรงงานไปคนงานของจำเลยจึงคิดวิธีป้องกันไว้ล่วงหน้าก่อนที่ภยันตรายจะถึงโดยขึงเส้นลวดไว้ที่ไม้สี่เหลี่ยมตั้งอยู่ที่พื้นปล่อยกระแสไฟฟ้าเข้ากับเส้นลวดวันเกิดเหตุกำแพงอิฐบล๊อกโรงงานจำเลยถูกเจาะที่เดิมอีกผู้ตายเป็นผู้เจาะกำแพงอิฐบล๊อกแล้วมุดเข้าไปในโรงงานเพื่อลักทรัพย์ของจำเลยแต่ผู้ตายเหยียบแผ่นไม้สี่เหลี่ยมที่มีกระแสไฟฟ้าผ่านเส้นลวดจนถูกช็อตจนถึงแก่ความตายถือว่าจำเลยได้กระทำการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายจำเลยย่อมได้รับนิรโทษกรรมไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา449วรรคหนึ่ง
________________________________
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เคยเป็นภริยาของนาย ณรงค์สุทธิโพธิ์โดยมิได้จดทะเบียนสมรสมีบุตรด้วยกัน2คนคือเด็กชาย นรินทร์ สุทธิโพธิ์ และเด็กหญิง นรีสุทธิโพธิ์ เมื่อวันที่13เมษายน2532เวลากลางคืนก่อนเที่ยงจำเลยเป็นเจ้าของและครอบครองกิจการโรงงาน หล่อโลหะทองเหลืองได้ทำการต่อกระแสไฟฟ้าแรงสูงจาก คัทเอาท์เข้ากับเส้นลวดที่ตอกติดไว้กับไม้สองอันทำเป็นแผงสี่เหลี่ยมจตุรัสกว้างประมาณ2ฟุตด้วยความจงใจที่จะทำอันตรายแก่ผู้คนที่เดินมาในทางโรงงาน โลหะเจริญ หากไปกระทบเข้าจะได้รับอันตรายแก่กายหรือชีวิตในวันเวลาดังกล่าวเด็กชาย นรินทร์ได้เดินไปในบริเวณที่จำเลยต่อกระแสไฟฟ้าไว้ทำให้เด็กชาย นรินทร์ได้รับอันตรายจากกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ร่างกายถึงแก่ความตายขอให้บังคับจำเลยใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นเงินจำนวน227,750บาทพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่13เมษายน2532ถึงวันฟ้องเป็น17,081บาทรวมทั้งสิ้น244,831บาทและดอกเบี้ยอัตราร้อยละสิบห้าต่อปีนับจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
จำเลยให้การว่าวันเวลาเกิดเหตุเด็กชาย นรินทร์งัดสังกะสีรั้วโรงงานบุกรุกเข้ามาแล้วสกัดเจาะกำแพงโรงงานเป็นช่องลอดเข้าไปเพื่อจะลักทรัพย์ที่อยู่ภายในบริเวณโรงงานจึงถูกกระแสไฟฟ้าช๊อตถึงแก่ความตายเสียก่อนด้วยความผิดของเด็กชาย นรินทร์เองเด็กชาย นรินทร์แม้มีชีวิตอยู่อาจส่งเสียเลี้ยงดูโจทก์และครอบครัวได้ไม่เกิน10,000บาทค่าใช้จ่ายในการปลงศพไม่เกิน1,000บาทขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าที่โจทก์ฎีกาว่าจำเลยเป็นผู้ก่อละเมิดและจำต้องจ่ายสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์หรือไม่เห็นว่าขณะที่โจทก์ได้รับแจ้งจากนางสาว ประภาและพบผู้ตายถูกไฟฟ้าช็อตนั้นเวลา3นาฬิกาเป็นยามวิกาลไม่มีเหตุผลใดที่ผู้ตายจะเข้าไปในโรงงานของจำเลยประกอบกับกำแพงอิฐบล๊อกของโรงงานถูกเจาะเป็นโพรงขนาดคนลอดเข้าไปได้และผู้ตายถูกกระแสไฟฟ้าช็อตถึงแก่ความตายใกล้กับโพรงกำแพงน่าเชื่อว่าผู้ตายเป็นผู้เจาะกำแพงอิฐบล๊อกแล้วเข้าไปในโรงงานของจำเลยเป็นเหตุให้เหยียบถูกเส้นลวดที่ต่อเข้ากับกระแสไฟฟ้าซึ่งคนงานของจำเลยเป็นผู้ทำไว้ทำให้ผู้ตายถูกกระแสไฟฟ้าช๊อตถึงแก่ความตายนาย สมชัยนายมโนธรรมนายบุญทิ้งร้อยตำรวจโท บรรพตบุญวิศิษฎ์และพันตำรวจโทสมพลลิมปกาญจน์พยานทุกคนเบิกความยืนยันว่าบริเวณที่โรงงานของจำเลยตั้งอยู่มีขโมยชุกชุมคนร้ายเข้าไปลักสิ่งของจากโรงงานจำเลยหลายครั้งบางครั้งจับคนร้ายได้เป็นเด็กวัยรุ่นเช่นเดียวกับผู้ตายแต่ส่วนมากจับไม่ได้จำเลยได้แจ้งความไว้เป็นหลักฐานซึ่งนางสาว ประภา นาคชูแก้ว พยานโจทก์ก็เบิกความยอมรับว่าเส้นลวดที่ปล่อยกระแสไฟฟ้าผ่านไปนั้นมีลักษณะว่างเป็นกับดักคนร้ายที่เข้าไปในบริเวณโรงงานเพราะของในโรงงานหายบ่อยข้อที่ว่ามีขโมยเข้าไปลักสิ่งของในโรงงานจำเลยนั้นปรากฏตามภาพถ่ายหมายล.5ว่าบริเวณกำแพงอิฐบล๊อกที่คนร้ายเจาะออกครั้งเกิดเหตุเป็นกำแพงที่มีอิฐบล๊อกซ่อมแซมใหม่อยู่หลายก้อนเชื่อว่าเคยมีคนร้ายเจาะกำแพงอิฐบล๊อกโรงงานของจำเลยแล้วลักเอาสิ่งของจากโรงงานไปคนงานของจำเลยจึงคิดวิธีป้องกันไว้ล่วงหน้าก่อนที่ภยันตรายจะถึงโดยขึงเส้นลวดไว้ที่ไม้สี่เหลี่ยมตั้งอยู่ที่พื้นแล้วปล่อยกระแสไฟฟ้าเข้ากับเส้นลวดวันเกิดเหตุกำแพงอิฐบล๊อกโรงงานจำเลยถูกเจาะที่เดิมอีกและปรากฏว่าผู้ตายเป็นผู้ที่เข้าไปในโรงงานของจำเลยข้อเท็จจริงฟังได้ว่าผู้ตายเป็นผู้เจาะกำแพงอิฐบล๊อกแล้วมุดเข้าไปในโรงงานเพื่อลักทรัพย์ของจำเลยแต่ผู้ตายไปเดินเหยียบแผ่นไม้สี่เหลี่ยมที่มีกระแสไฟฟ้าผ่านเส้นลวดจนถูกช็อตจนถึงแก่ความตายถือว่าจำเลยได้กระทำการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายจำเลยย่อมได้รับนิรโทษกรรมไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา449วรรคหนึ่งที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษายกฟ้องโจทก์นั้นศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย
พิพากษายืน
( วุฒิ คราวุฒิ - มงคล สระฏัน - อธิราช มณีภาค )
........................................
ผมลองคิดตามต่อไปว่าหากชอบด้วยกฎหมาย ก็คือว่า ชอบด้วย ป.อ.มาตรา ๖๘
ลิงก์ผู้สนับสนุน Sponsored Links
|
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
ภูปอ แฟนคลับ


เข้าร่วมเมื่อ: 26/07/2010 ตอบ: 220
|
ตอบ: 03/09/2012 4:32 pm ชื่อกระทู้: ปล่อยกระแสไฟฟ้าเพื่อป้องกันทรัพย์สิน ที่ชอบด้วยกฎหมาย |
|
|
ทางอาญา มี ฎ.ที่วางแนวเรื่องเกี่ยวกับการปล่อยกระแสไฟฟ้าในการป้องกันล่วงหน้าไว้ที่เด็นๆมี ๔-๕ ฎ.ดังนี้
ฎ.แรก เรื่อง ขึงลวดปล่อยกระแสไฟดักหนูที่จะมากัดกินตนกล้าข้าวในนา ผู้ตายไปส่องกบเยียบถูกลวดไฟช๊อตตาย
ฎ.ที่ ๒ เรื่อง ขึงลวดข้างร้้วสังกะสีของโรงหนัง เพื่อป้องกันคนไปแอบส่งดูหนัง ที่ไม่ยอมซื้อบัตรผ่านประตูเข้าไปดูหนังภายในโรงหนัง ผู้ตายเมาสุราไปยืนฉี่ข้างรั้วโรงหนังถูกเส้นลวดไฟช๊อตตาย
ฎ.ที่ ๓ โรงนาของจำเลยที่เก็บเครื่องมือทางการเกษตรเคยถูกลักทรัพย์มาก่อน จำเลยจึงได้ขึงลวดปล่อยกระแสไฟฟ้าไว้รอบโรงนากันคนไปลักทรัพย์อีก ผู้ตายจะเข้าไปลักทรัพย์ถูกเส้นลวดไฟไฟ้าช๊อตตาย
ฎ.ที่ ๔ จำเลยเลี้ยงปลา ได้ปล่อยกระแสไฟฟ้าตามเส้นลวดที่ขึงไว้รอบๆบ่อเลี้ยงปลาเพื่อป้องกันคนมาลักปลาในบ่อในเวลากลางคืน บุตรของคนงานจำเลยไปเดินเล่นถูกเส้นลวดไฟฟ้าช๊อตตาย และ
ฎ.ที่ ๕ ข้อเท็จจริงเดียวกัน แต่ผู้ตายเป็นคนที่จะเข้าไปลักปลาในบ่อเลี้ยงปลาของจำเลย ถูกเส้นลวดไฟฟ้าช๊อตตาย
ทั้ง ๕ ฏ.วางหลักไว้ ดังนี้
๑.การปล่อยกระแสไฟฟ้าตามเส้นลวดเป็นเพียงเจตนาทำร้าย ไม่ใช่เพื่อฆ่า
๒.การกระทำของคนตาย จำเลยมีสิทธิป้องกันหรือไม่ หากมีสิทธิป้องกันเป็นการป้องกันโดยชอบ ซึ่ง ฎ.ที่ ๑,๒,๔ วางแนวไว้ว่าจำเลยไม่มีสิทธิป้องกันคนตาย จำเลยต้องรับผิดในความตายของผู้ตาย ตาม ป.อาญา มาตรา ๒๙๐ ส่วน ฎ.ที่ ๓ และ ๕ จำเลยมีสิทธิป้องกันในการกระทำของผู้ตาย จึงเป็นการป้องกันโดยชอบ ตาม ป.อาญา มาตรา ๖๘ |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
เทพธันเดอร์นครปฐม สุดยอดแฟนพันธุ์แท้


เข้าร่วมเมื่อ: 24/01/2008 ตอบ: 8180
|
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
นกเขา สมาชิก


เข้าร่วมเมื่อ: 10/10/2009 ตอบ: 133
|
ตอบ: 04/09/2012 7:41 am ชื่อกระทู้: ปล่อยกระแสไฟฟ้าเพื่อป้องกันทรัพย์สิน ที่ชอบด้วยกฎหมาย |
|
|
ไม่ควรทำอย่างยิ่งครับ หากผู้ที่ถูกกระแสไฟฟ้าดูดตายหรือบาดเจ็บไม่ใช่คนร้ายคุณต้องรับโทษครับ |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
|
|
|