@ ประเด็นการสอบสวนบุคคล
ไม่ว่า ผู้เสียหาย/ผู้กล่าวหา.. ผู้ต้องหา/ผู้ถูกกล่าวหา พยาน..
ต้องไล่เรียงให้ปรากฎข้อเท็จจริง เห็นภาพอย่างต่อเนื่องเป็นลูกโซ่
ครอบคลุมทั้งหมด สามระยะ คือ ..
ก่อนเกิดเหตุ ขณะเกิดเหตุ หลังเกิดเหตุ..
คดีประเภทเดียวกัน ในแต่ละคดี ย่อมไม่มีข้อเท็จจริงเหมือนกันเป๊ะ 100%
เหมือนฝาแฝด.. หากให้อ้าปาก ก็อาจคนหนึ่งมีฟัน 32 ซี่ อีกคน 31 ซี่
หรือนับเส้นขนทั้งตัวแล้ว ก็ยาว สั้น มากน้อย ไม่เท่ากัน..
อีกทั้ง ประเด็นที่นอกเหนือจากที่ครูอาจารย์วางแนวทางสอบสวนไว้ ..
แต่หากเราคิดว่า น่าจะตั้งคำถามใดอีก ซึ่งจะทำให้คดีแจ่มกระจ่าง สิ้นสงสัย..
เราก็ตั้งขึ้นถามได้ เช่น เมื่อวางกรอบว่า สาเหตุแห่งคดี น่าจะมีประเด็นใดบ้าง..
เช่น เหตุโกรธเคือง ชู้สาว ขัดแย้งธุรกิจ ขัดแย้งกลุ่มอิทธิพลพื้นที่ ฯลฯ ..
แต่ละมูลเหตุเหล่านี้ ก็จะมีประเด็นคำถามย่อย ๆ ในการซักถามสอบสวน..
ซึ่งเราสามารถนึกคำถาม นั่น โน่น นี่ ที่เป็นประโยชน์แก่คดีได้ตลอดเวลา..
ไม่ว่าจะเป็นการสอบปากคำครั้งแรก รวมทั้งสอบเพิ่มเติม จะอีกกี่ครั้งก็ตาม..
โดยเฉพาะ การเสนอสำนวนให้ รอง ผกก.สส./หน.งานสอบสวน / หน.สภ.
ตรวจ แนะนำ สั่งการ ในการสอบสวน .. ก็มีความจำเป็นมาก..
ทั้งในฐานะผู้บังคับบัญชาผู้มากประสบการณ์ ทั้งตามคำสั่ง 960/37
@ ประเด็นคดีประทุษร้ายต่อชีวิตร่างกาย.. ของครูอาจารย์ตามนี้..
ท่านวางกรอบไว้กว้าง ๆ อ่านให้จบ แล้วประยุกต์ปรับ ยักเยื้อง ใช้ในการ..
สอบสวนรวบรวมพยานหลักฐาน บุคคล/วัตถุ/เอกสาร...
http://www.chaibadancrime.com/images/sub_1246359326/3accuser.doc
@ การกันผู้ต้องหาเป็นพยาน...
http://www.police7.go.th/chaiyan/data2/124.doc